น. ที่สำหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
น. เครื่องนำไปทางอากาศ, ยานที่แล่นไปในอากาศ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์.
ก. กระโดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดินโดยอาศัยร่มชูชีพ, โดดร่ม ก็ว่า.
น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบกับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ คล้ายเครื่องบิน แต่ไม่ใช้เครื่องยนต์ เคลื่อนที่ไปในอากาศโดยอาศัยกระแสลมและความโน้มถ่วงของโลก.
ก. กระโดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดินโดยอาศัยร่มชูชีพ, กระโดดร่ม ก็ว่า
น. ผู้ควบคุมทิศทาง ตำแหน่งของเรือ การเดินเรือในร่องน้ำ ในการเดินเรือทะเลหรือเดินอากาศยาน, (โบ) คนนำทาง เช่น ต้นหนบอกตำบล แลนา ให้หยุดพลเอาทัพ แลนา (ลอ).
โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่ารถขนส่ง ท่าอากาศยาน
น. ระบบการใช้ไมโครเวฟเพื่อหาตำแหน่งที่อยู่แสดงเอกลักษณ์ หรือนำทิศทางของวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น เรือ อากาศยาน ดาวเทียม จรวด.
น. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓, ๘๐๐-๕, ๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำ มีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.
น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑, ๕๐๐-๓, ๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยาน เรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖, ๐๐๐-๒๐, ๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.
น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ไม่มีปีก มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวยืนได้.