(อะหฺนึ่ง) สัน. อีกอย่างหนึ่ง, อีกประการหนึ่ง.
ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้ (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า…(พระราชกำหนดเก่า)
(-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก).
ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา (นิ. เพชร), อนึ่งเรือหน้าบอกให้เรือหลังราไว้ และเรือหลังมิได้ราอยู่ภายไปกระทั่งเรือหน้าแตกล่มก็ดี (สามดวง)
(กฺราก) ว. เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก.
(กน-) น. บุคคลที่ทางการให้เจ้าหน้าที่ไปขอสัมภาษณ์และขอร้องให้ช่วยรับเป็นพยาน มี ๓ ประเภทคือ ทิพพยาน อุดรพยาน และอุตริพยาน เช่น อนึ่งกลพยานนั้น คือวานท่านไปถามเป็นคำนับ (สามดวง).
(กุมาระละลิตา) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร (ชุมนุมตำรากลอน).
ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน แล้วต้มหรือนึ่งให้สุก อยู่ในจำพวกขนม มีชื่อต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด.
น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดำ, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอามานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อแล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ
น. เจ้าหน้าที่รับจดคำฟ้อง เช่น หญิงชายทำหนังสือร้องฟ้องนั้น มีชื่อหลายคน พึงให้ขุนการเอามาจนถ้วนคน อนึ่ง ถ้าความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับบัญชายากไซร้ให้ขุนกาลชุมนุมจตุสดมให้ช่วยว่า (สามดวง).
น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
ก. ผูกใจเจ็บ, อาฆาตแค้น, เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง (กฎ. ราชบุรี).
(ฉะมบ) น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐ (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, น่าคิด, เช่น อนึ่งซึ่งจะตั้งค่ายอยู่นี้ก็ไม่ชอบกล หาเป็นที่ชัยภูมิไม่ จำจะยกถอยไปตั้งอยู่ ณ เมืองตะเกิงจึงจะทำถนัด (ราชาธิราช)
น. สตรีชาววังฝ่ายใน เช่น ยังจะประพฤติตนให้นางท้าวชาวชะแม่พระสนมกำนัล สิ้นทั้งพระราชฐานรักใคร่ตัวได้แลฤา, บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) อนึ่ง ผู้เปนจ่าเปนโขลนท่านแต่งให้เรียกหาชะแม่ พระสนม ค่ำเช้าเข้าใต้เพลิง (กฎมนเทียรบาล).
ก. ต่อสู้ชิงชัย เช่น อนึ่งภูษาทรงณรงค์รบ ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี (สวัสดิรักษา).
ว. ประจำวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอันบรรดาจำบำเรอประดิทิน (กฎ. ราชบุรี).
น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่กรอกในไส้ไก่แล้วเอาไปต้มหรือนึ่งให้สุก ตัดเป็นแว่น ๆ เมื่อต้มในแกงจืดตอนปลายหัวท้ายจะบานตรงกลางเป็นร่องคล้ายรอก.
ว. เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไป เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก.
น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียกตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้นํ้าพริกกับเนื้อปลาเป็นต้นกวนกับนํ้ากะทิมีผักรองแล้วห่อนึ่ง.