น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนกที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
น. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย.
ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว.
ว. มีอาการหวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทำท่าหย็อง.
ก. ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง.
น. สิ่งสำหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทำด้วยทองเหลือง
เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง
ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายพาดผ่าน เพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่กล่องเครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้ เรียกว่า ซุ้ม.
ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
ว. เหย่า ๆ (ใช้แก่กิริยาวิ่ง).
(หฺย็องกฺรอด) ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
ว. ทำท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที
ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
ก. หยิกเป็นฝอย เช่น ผมหยิกหย็อง.
น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน (ลอ).
น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง กระบอกมักทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะคล้ายด้วงดักสัตว์ ขึงหนังด้านหนึ่งด้วยหนังสัตว์ มีหย่องและสาย ๒ สายพาดข้าม ปลายบนผูกติดกับลูกบิด คันชักส่วนที่เป็นหางม้าอยู่ระหว่างสายทั้ง ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงเวลาสี บรรเลงนำในวงเครื่องสาย วงมโหรี หรือใช้เดี่ยวเพลงก็ได้.
น. ส่วนประกอบของจะเข้ ทำหน้าที่เป็นหย่องใช้พาดสายไปสู่ลูกบิด.
น. พนัก. (คำฤษฎี), หย่องหน้าต่าง เช่น บังอวดบังอิงอร่ามเรือง (อนิรุทธ์).
ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่ (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า.
(หฺนวดพฺราม) น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้าที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่งเรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.