44 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*สิงหา*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: สิงหา, -สิงหา-
Longdo TH - TH
[ทิฟฟานี่](name)นักร้องจากประเทศเกาหลี ชื่อที่ใช้ในวงการ: ทิฟฟานี่ (เกาหลี: 티파니, Tiffany) ชื่ออังกฤษ: สเตฟานี่ ฮวัง (เกาหลี: 스테파니 황, Stephanie Hwang) ชื่อจริง: ฮวัง มิยอง (เกาหลี: 황미영, Hwang Miyoung) วันเกิด: 1 สิงหาคม ค.ศ. 1989 ส่วนสูง: 163 ซม. น้ำหนัก: 50 กก. กรุ๊ปเลือด: O ตำแหน่ง: นักร้องเสียงหลัก ระยะเวลาในการฝึก: 3 ปี 7 เดือน ฉายา: Spongebob Hwang, Fany Fany Tiffany, Human Jukebox, Mushroom, Tiffiana, JumFany, AjumNy, Ddilfany, Bam Fany เธอเกิดที่สหรัฐอเมริกา จุดเด่นอยู่ที่ตายิ้มแล้วรอยยิ้มที่แสนน่ารักของเธอเป็นสมาชิกวงGirls' Generation(SNSD)จากเกาหลีมีสมาชิกทั้งหมด9คน <a href="http://upic.me/show.php?id=2144b4a64be0d8b233ebd2aea98c7088" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/7l/zl0.8460523_1_1.jpg"></a>
Longdo Unapproved TH - EN**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N
[มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N](n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o)มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961)
Longdo Unapproved KO - TH**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
소녀시대
[โซ นยอ ชิ แด](n, uniq)ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBSSee Also:R. Girls' Generation
Image:
소녀시대
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)AugustSyn.เดือนสิงหาคม, เดือนที่ 8, เดือน 8Example:พระราชินีทรงพระราชสมภพในเดือนสิงหาคมThai Definition:ชื่อเดือนที่ 8 ของปีตามสุริยคติ มี 31 วัน
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. ที่ตรงพระบัญชรหรือมุขเด็จซึ่งเสด็จออก.
น. ชื่อเดือนที่ ๘ ของปีสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน
ชื่อเดือนที่ ๕ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
น. ราชอาสน์หรือที่ประทับ ทำเป็นแท่นเท้าสิงห์.
ดู สิงห-, สิงห์.
ดู สิงห-, สิงห์.
ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙ ตกในราวเดือนสิงหาคม.
น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส.
(-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน.
ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตกในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง.
(ผะ-) ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
น. อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, ที่ประทับซ้อนบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน
น. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน.
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
สมาคมเพื่อการบูรณาการแห่งภูมิภาคลาตินอเมริกา ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2523 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก ชิลี โคลัมเบีย เปรู อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย เอกวาดอร์ และปารากวัย[การทูต]
สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542[การทูต]
การประชุมระหว่างไทยกับอาร์เจนตินาที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 เพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-อาร์เจนตินา ครั้งที่ 1 (Thai-Argentine Joint Committee ? JC)[การทูต]
นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)[การทูต]
องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง[การทูต]
ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน[การทูต]
ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ประกอบด้วย 14 ประเทศ คือ อังโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ "[การทูต]
" หมายถึง เอกสารก่อตั้งสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of South-East Asian Nations : ASEAN) ซึ่งได้มีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย "[การทูต]
สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแต่สันนิบาตชาติมีอายุอยู่ได้ ไม่นาน อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ[การทูต]
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[deūoen singhākhom] (n, exp) EN: August  FR: mois d'août [ m ] ; août [ m ]
[ngū sing hāng dam] (n, exp) EN: Keeled Rat Snake
[ngū sing hāng lāi] (n, exp) EN: Common Rat Snake ; Dhaman ; Oriental Rat Snake
[rattanasinghāt] (n) EN: window or balcony where royalty make their public appearance
[singhā] (n) EN: August  FR: août [ m ]
[singhākhom] (n) EN: August  FR: août [ m ]
Longdo Approved EN-TH
(n)เซลกำเนิดไฟฟ้า โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี ระหว่างออกซิเจน กับ ไฮโดรเจน ซึ่งเมื่อรวมตัวกันแล้วจะได้น้ำ และพลังงานออกมา คาดกันว่าจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับเป็นแหล่งพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว หรืออุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ต่างๆ โดยสามารถเติมพลังงานในรูปแบบของการเติมไฮโดรเจนที่ปั้ม หรือซื้อไฮโดรเจนกระป๋องสำหรับอุปกรณ์นั้นๆมาเปลี่ยน (สิงหาคม 2546)
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
(n)เดือนสิงหาคม
(n)สิงหาคม
(n)วันที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2See Also:ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945
Nontri Dictionary
(n)เดือนสิงหาคม
Longdo Unapproved EN-TH**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
[เกิล'ส เจเนอเรชั่น](name, uniq)ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS
[โซ นยอ ชิ แด](abbrev, uniq)ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBSSee Also:소녀시대Syn.Girls' Generation
Saikam JP-TH-EN Dictionary
夏休み
[なつやすみ, natsuyasumi] TH: วันหยุดภาคฤดูร้อนเดือนสิงหาคม
夏休み
[なつやすみ, natsuyasumi] EN: summer vacation
八月
[はちがつ, hachigatsu] TH: เดือนสิงหาคม
八月
[はちがつ, hachigatsu] EN: August
Longdo Approved DE-TH
(n)|der, pl. Auguste| เดือนสิงหาคม
(adj, adv)ใช้ได้ถึง, มีอายุถึง (ใช้บอกวันหมดอายุของเครื่องอุปโภคบริโภค) เช่น Mindestens haltbar bis 08.2004 ควรบริโภคก่อนเดือนสิงหาคม ปี 2004
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ