(สามมะเนน) น. ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐, เรียกสั้น ๆ ว่า เณร.
(สามมะ-) น. หญิงที่บวชเป็นสามเณร.
น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่.
(-เพน) น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ เช่น วัดกะดีทอง (สามดวง)
น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า
(กับปี) น. กับข้าว (ใช้เฉพาะภิกษุสามเณร), มักใช้เข้าคู่กับคำ จังหัน ว่า กัปปีย์จังหัน.
น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี
(กุด, กุดติ, กุติ) น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่.
ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง.
น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
น. คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบท ว่า เณรโค่ง.
ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
(จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ].
เป็นคำเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคำรับ.
ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
น. กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรเนื่องในพิธีเผาศพ.
น. กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรต่อท้ายพิธีบวชพระ.
ก. เอาเงินติดต้นเทียนบูชาภิกษุหรือสามเณรที่เทศน์, เอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์.
ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี.
ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้ เช่น แลสิ่งของอันมิควรแก่สมณเปนต้น แลทองเหลือง ทองขาว ทองสำฤทธิ แก่ภิกษุสามเณร (สามดวง), แลรูปประพรรณทองขาวทองเหลืองทองแดงตกั่วสำฤท (สามดวง)
(-ไนยะ-) น. บุคคลผู้ควรรับทักษิณา ได้แก่ภิกษุ สามเณร และสมณพราหมณ์.
(ทันดะ-, ทันทะ-) น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด
(-ยก) น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา.
(ทำมาด) น. ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม.
คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร.
น. คำเติมหน้าชื่อผู้ที่เคยบวชเป็นสามเณร, ถ้าเคยบวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน.
น. ผู้ที่ได้เข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆ เช่น ภิกษุ สามเณร บาทหลวง.
น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น.
ก. เชิญ, เชื้อเชิญ, (ใช้แก่พระภิกษุและสามเณร).
(บันพะ-, บับพะ) น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท เป็น บรรพชาอุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ.
(บันพะ-, บับพะ) ก. บวช เช่น พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน.
ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
(บาด) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต.
น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต.
ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน.
น. ผู้รับทาน หมายถึง สมณพราหมณ์ เช่น วันรุ่งพรุ่งนี้จะมีเหตุด้วยปฏิคาหก ยาจกจะมารับพระราชทาน (ม. ร่ายยาว กุมาร), คู่กับ ทายก คือ ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร.
น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็นแผ่นสำหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสำหรับคาดอก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก
(ปะวาระนา) ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา
เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธ-ศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึง เงินตรา ก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร)
น. ผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ ซึ่งกลายมาจากผ้าสันถัต, (โบ) กราบพระ ก็ว่า.
ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร).
น. ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบนํ้า.
น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า สังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม (วัดพระแก้ว).