(ดุริยางคะ-) น. ศิลปะของการบรรเลงเครื่องดุริยางค์.
น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
น. ศิลปะในการยิงธนู, ฝีมือยิงธนู, การฝึกหัดยิงธนู.
(นาดตะสิน) น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ.
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ).
น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพโฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
น. ศิลปะการออกแบบและตกแต่งผลิตกรรมหรืองานช่างต่าง ๆ.
น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์
วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.
น. ศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ประทับใจ.
(-จิดตฺระสิน, -จิดสิน) น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้านคุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน (รามเกียรติ์ ร. ๖)
ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
(สินละปะ-, สิน, สินละปะ) น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว
การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร.
(สิน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์ (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์ (รามเกียรติ์ ร. ๑).
น. ศิลปะในการผลิตสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ โดยถือความงามเป็นหลัก.
(อุดสาหะกำสิน) น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือและเครื่องกล.
น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และมัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน.
น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของตะวันตกมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และมัณฑนศิลป์ของไทยในบางสมัย.
กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
(ขะแหฺนะ) น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
น. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น.
น. ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมวรรณศิลป์ ชมรมพระเครื่อง.
ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชำเนียรในศิลป์ (สรรพสิทธิ์).
ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชุมนุมวรรณศิลป์ ชุมนุมภาษาไทย.
ว. น้อย (โดยมากมักใช้ในทางปฏิเสธหรือเป็นเชิงคำถาม) เช่น เขามีวาทศิลป์พูดชักจูงใจคนไม่บันเบาทีเดียว.
น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ.
ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ
น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เรื่องที่แสดง เช่น อิเหนา คาวี สังข์ศิลป์ชัย, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลายเทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกำมะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก
น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม
ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
ดู ศิลป-, ศิลป์ ๑, ศิลปะ.
(-คีด) น. การร้องรำทำเพลง เช่น สังคีตศิลป์.
น. วัสดุที่ใช้สำหรับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ร่วมกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป เช่น สีน้ำที่มีคุณลักษณะบางสดใสกับสีโปสเตอร์ที่มีคุณสมบัติหนาทึบ ดินสอกับหมึก.
ว. ที่ยกย่องกันว่าดีเด่น เช่น วรรณคดีเรื่องนี้ยกย่องกันว่ามีค่าทางวรรณศิลป์สูงส่ง.