ศักยภาพการเกษตร[เศรษฐศาสตร์]
ศักยภาพในการพัฒนา[เศรษฐศาสตร์]
ศักยภาพทางอุตสาหกรรม[เศรษฐศาสตร์]
ศักยภาพของที่ดิน[เศรษฐศาสตร์]
พลังงานศักย์, Example:พลังงานที่มีในวัตถุ เนื่องจากตําแหน่งที่อยู่ของวัตถุนั้น[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อิเล็กตรอนโวลต์, หน่วยหนึ่งของพลังงานหรืองาน 1 อิเล็กตรอนโวลต์ คือ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.603 x 10<sup>-12</sup> เอิร์ก[นิวเคลียร์]
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์]
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474[นิวเคลียร์]
ความสามารถของการประดิษฐ์ที่มีศักยภาพตามข้อกำหนดทางกฏหมายสิทธิบัตร, ความสามารถของการประดิษฐ์ที่มีศักยภาพตามข้อกำหนดทางกฏหมายสิทธิบัตร, Example:รวมถึงความใหม่ ในบางประเทศไม่นับรวมสิ่งมีชีวิต และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ปกติมีเกณฑ์หลัก 3 เกณฑ์ คือ ใหม่ที่สุดในโลก มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้นกว่าเดิม และประยุกต์กับภาคอุตสาหกรรมได้[ทรัพย์สินทางปัญญา]
การรับรังสีไม่คาดหมาย, การรับรังสีเชิงศักย์, การรับรังสีที่ไม่ได้คาดไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุของต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือชำรุดเสียหาย หรือเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงาน การรับรังสีนี้ สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดแนวทางป้องกัน เพื่อลดโอกาสการรับรังสี[นิวเคลียร์]
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ[Assistive Technology]
การประเมินศักยภาพ[TU Subject Heading]
การประเมินศักยภาพตนเอง[TU Subject Heading]
ศักย์โน้มถ่วง, Example:งาน (work) ต่อจำนวนของน้ำบริสุทธิ์ ที่ต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายน้ำในดิน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่มีความสูงแตกต่างกัน ดังสมการ Yz = r g z เมือ Yz คือ ศักย์โน้มถ่วง z คือ ระดับความสูงที่แตกต่างกัน r คือ ความหนาแน่นของน้ำ g คือ แรงโน้มถ่วง [สิ่งแวดล้อม]
ศักยภาพการกร่อน, Example:ศักยภาพของตัวการ เช่น น้ำ ลม และแรงโน้มถ่วง ฯลฯ ที่ทำให้เกิดการกร่อน [สิ่งแวดล้อม]
ศักย์ออกซิเดชัน-รีดักชัน, Example:ความต่างศักย์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอีเล็ก ตรอนจากตัว oxidant ไปยังตัว reductant [สิ่งแวดล้อม]
โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จ รูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรใน อัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้[การทูต]
คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น[การทูต]
ตลาดเกิดใหม่ มี 2 ความหมาย ความหมายที่ 1 คือ ตลาดที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เริ่มเติบโตขึ้นและซับซ้อน มากขึ้น ส่วนความหมายที่ 2 คือ ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้[การทูต]
เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น[การทูต]
สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ[การทูต]
ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง[การทูต]
โครงการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผน ปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา ตลอดจนสาขาทางเศรษฐกิจที่ควรมีความร่วมมือต่อกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว รวม 5 สาขา ได้แก่ โครงสร้างทางกายภาพ (ถนนและไฟฟ้า) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง อุตสาหกรรมเบา การพัฒนาการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงทางการค้า โดยจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจดัง กล่าว ทั้งนี้ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 ปี เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป[การทูต]
มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ[การทูต]
เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์[พลังงาน]
ค่าศักย์สมบูรณ์[การแพทย์]
ระยะเวลาที่เกิดศักย์ไฟฟ้า[การแพทย์]
ศักย์ขณะทำงาน, ศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงาน, ศักย์ในการทำงาน, กระแสไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าขณะกำลังทำงาน, ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงาน[การแพทย์]
ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงานผสม[การแพทย์]
ศักยภาพแห่งพฤติกรรม[การแพทย์]
ศักย์ไฟฟ้า2ขั้ว[การแพทย์]
ดีโพลาไรเซชัน, การกระตุ้น, ดีโปลาไรเซซั่น, การลดความต่างศักย์, ทิศทางการกระจายของคลื่นไฟฟ้า[การแพทย์]
การเปลี่ยนความต่างศักย์ไฟฟ้าเฉพาะที่[การแพทย์]
วงจรที่ลดความต่างศักย์[การแพทย์]
สิ่งเร้าโดยลดความต่างศักย์[การแพทย์]
ความต่างศักย์สูงสุดที่ส่งผ่านผิวเนื้อเยื่อ[การแพทย์]
การเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ทางไฟฟ้า[การแพทย์]
ศักย์ทางไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้า, ความแตกต่างในศักย์ไฟฟ้า[การแพทย์]
ศักยภาพทางเคมีไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าเคมี[การแพทย์]
ศักย์ไฟฟ้าอีเล็คโตรด[การแพทย์]
ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า[การแพทย์]
ศักย์บวกภายในอวัยวะรูปหอยโข่งที่เป็นกระแสสลับ[การแพทย์]
พลังงานศักย์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก[การแพทย์]
กระแสไฟที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ, ศักย์บันดล, ศักยบันดล, การตอบสนองโดยทันที[การแพทย์]
ศักย์ของการซึมขึ้น[อุตุนิยมวิทยา]
ศักย์เนื่องจากความ กดของน้ำนิ่ง[อุตุนิยมวิทยา]