น. ระฆังเล็ก ๆ ทำด้วยโลหะ ที่ปลายตุ้มมีใบพานซึ่งนิยมทำเป็นรูปใบโพ เมื่อลมพัดปลายตุ้มจะกระทบตัวกระดึงทำให้เกิดเสียง ใช้แขวนที่ชายคาโบสถ์และวิหารเป็นต้น, เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก เพื่อให้เกิดเสียงดัง มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย.
น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๔ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อบุภายในมีลักษณะเป็นกลีบห่าง ๆ คล้ายกลีบมะเฟือง.
น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นวัวควาย มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง.
ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, บดเอื้อง ก็ว่า.
ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนำไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน.
ซอกหรือช่องแคบที่ทำขึ้นสำหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่บังคับ เช่น เอาม้าแข่งเข้าประจำซอง
ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๒ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อบุภายในมีลักษณะเป็นกระเปาะ ๆ มีหลายเหลี่ยม คล้ายดอกจอก
เรียกกิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา
เรียกเชือกที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย.
น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสำหรับร้อยเชือก
ก. ชิดขวา (บอกวัวควายเวลาไถนา พร้อมกระตุกเชือก), ถัด ก็ว่า.
ก. ชิดขวา (บอกวัวควายเวลาไถนา พร้อมกระตุกเชือก), ต่าน ก็ว่า.
ว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ถิ่น–อีสาน ใช้ว่า เถิก หมายความว่า สัตว์ตัวผู้ เช่น วัวเถิก ควายเถิก, ถ้าตัวเมียใช้ว่า แม่ เช่น วัวแม่ ควายแม่).
ก. ขวิด, กระทบ, ชน, เช่น วัวควายทอคนตาย.
ก. ชิดซ้าย (บอกวัวควายเวลาไถนา พร้อมดึงเชือก).
ก. ใช้วัวควายหรือคนยํ่ารวงข้าวให้เมล็ดหลุดจากรวง.
ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
น. ไม้ท่อนกลมยาวคล้ายตะพดที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะเช่นวัวควายเพื่อบังคับให้ทำตามที่ต้องการ.
น. เครื่องใช้ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสำหรับใส่หญ้าให้วัวควายกิน.
(เปฺลี่ยว) น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อเวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย.
(เปฺลี่ยว) ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอกเพื่อให้เกิดเสียงดัง มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย.
ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๓ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อภายในมีแผ่นเนื้อเยื่อขนาดสั้นและยาวคล้ายกลีบอัดแน่นกันอยู่, สามสิบกลีบ ก็เรียก.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่งที่เกิดแก่สัตว์มีวัวควายเป็นต้น.
บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย)
น. โรงที่ชาวนาสร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย มักจะสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นนากันน้ำท่วม ด้านหนึ่งมียกพื้นสำหรับนอน มีที่ทำครัว และมีที่ว่างสำหรับไว้วัวควายด้วย.
ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นเพื่อให้หลาบจำ.
ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
น. เชือกที่ร้อยจมูกวัวควาย.
ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางทีก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.
น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายกินเข้าไปในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสำรอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง.
ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง
อ. เสียงร้องไล่หรือกระตุ้นเพื่อเร่งวัวควายให้เดินหรือวิ่ง.