(กะมนทะ-) น. หม้อนํ้าสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก (ม. คำหลวง มหาราช).
ก. ทำให้ไม่ได้รับสิ่งที่จะพึงได้, ทำให้ไม่มีโชค.
ว. เป็นลาภแน่ ๆ, หนีไม่พ้น, เช่น นางนี้ดีร้ายตายลาภเรา (มณีพิชัย).
(ทุกขะลาบ) น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยมีมา.
(ลาบ) น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด.
น. ของกินที่มักได้มาโดยไม่คาดคิด.
น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ หรือได้มาเพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ รวมตลอดถึงการได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มี มิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว.
น. สิ่งที่ได้มาโดยไม่คาดคิด.
(อะดิเหฺรกกะลาบ) น. อติเรกลาภ, ลาภพิเศษ.
(กฺระสาบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทองร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชนทงงหลายบมิขาดเลย (ม. คำหลวง ชูชก).
ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Eucharis grandiflora Planch. et Linden. ในวงศ์ Amaryllidaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมในตอนเย็น นิยมปลูกไว้ในบ้านโดยเชื่อว่านำโชคลาภมาให้, ว่านนางกวัก ก็เรียก.
น. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป.
คำเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาสคนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทำนองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต.
(พอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๒ เรียกว่า ภอ สำเภา เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ปรารภ ลาภ.
น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น, เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา.
น. โชค ลาภ หรือยศ ตำแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือคาดฝันมาก่อน.
(ลักสะหฺมี) น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์
ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์.
(โลกกะ-) น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖. นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์.
(วาดสะหฺนา) น. บุญบารมี, กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก.
น. ความสุขเกษม, ความเจริญ, โชคลาภ, ความสำเร็จ.
น. คนที่อยากได้ผลประโยชน์หรือลาภสักการะโดยไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร.
น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก.
ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคนชวนไปหาลาภทางไกล.
ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้ไม่แน่น พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป ว่าวขาดหลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญสิ้นสิ่งที่ควรจะได้หรือสิ่งที่หวังไว้ เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาสหลุดลอยไป.
(อะนาคด, อะนาคดตะ-) น. เวลาภายหน้า.
(อะนิดถารม) น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์.
น. อารมณ์หรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าพอใจ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข, ตรงข้ามกับ อนิฏฐารมณ์.