น. ช่วงเวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ๆ, โดยอนุโลมใช้หมายถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลนั้น ๆ เช่น รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น.
(กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก
เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ว่า หมวกกะหลาป๋า
น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
น. เงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, (โบ) เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินพดด้วง ก็เรียก.
น. เงินเหรียญมีลักษณะแบนกลมที่ออกมาใช้เป็นเงินตราในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยเงิน มีราคาเป็นตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ (ประชุม ร. ๔), เรียกเหรียญซึ่งทำด้วยทองแดงหรือดีบุก.
น. เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินตรา ก็เรียก.
น. ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีพระโอรสพระธิดา.
น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก
น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์.
ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๑-๕ ซึ่งไม่มีพระราชโอรสพระราชธิดา.
ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๑-๔ ซึ่งมีพระราชโอรสพระราชธิดา
น. ชื่อกองทหารแบบอังกฤษกองหนึ่งในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอยของกองทัพอังกฤษในอินเดีย.
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
(ทด, ทดสะ-) น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ.
น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.
น. เหรียญทองมีลักษณะกลมแบนที่ออกมาใช้เป็นเงินตราในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำ มี ๓ ขนาด ราคาแตกต่างกัน คือ ทองทศ ทองทิศ ทองพัดดึงส์.
น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.
ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว
น. ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง
ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยายใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง (อภัย), อีกอย่างหนึ่งจะไปติดพันกับผู้หญิงริงเรือที่อยู่ในที่หวงแหน (พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔), ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ.
น. เรียกเงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน ว่า เงินพดด้วง.
น. เลขปีรัชกาลที่เขียนบนหลังศก.
น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ.
น. สกุลวงศ์ฝ่ายพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ เช่น นามสกุล ณ บางช้าง ในรัชกาลที่ ๒ นามสกุล ศิริสัมพันธ์ ในรัชกาลที่ ๓ นามสกุล สุจริตกุล ในรัชกาลที่ ๖.
น. คำนำหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔, คำนำหน้านามพระราชธิดาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าขึ้นไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
น. คำนำหน้านามพระราชโอรสในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าขึ้นไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
น. ชื่อวงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่งที่นำเครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมออกไปทำให้เกิดเสียงทุ้มนุ่มนวล เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕.
น. วังที่ประทับของพระมหาอุปราช มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เรียกในราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวัง, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียกพระราชวงศ์ฝ่ายนี้ ว่า ฝ่ายวังหน้า.
น. วังที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยาเรียกว่า พระราชวังหลวง, ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
น. วันประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม.
(สานโปริดสะพา) น. ศาลชั้นต้นที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทำนองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
น. การสักบอกสังกัด, การสักเลกหรือคนที่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงหรือไพร่สม ให้รู้ว่าอยู่ในหมู่ใดกรมใด เพื่อใช้ในราชการและไม่ให้ไพร่อยู่อย่างไร้สังกัด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว (สามดวง), หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่ (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔), สักเข้าหมู่ ก็ว่า.
น. เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง.
น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก.
น. ตำแหน่งข้าราชการในกรมมหาดเล็ก มี ๔ ตำแหน่ง เดิมเรียกว่า หมื่น เจ้าหมื่น และจมื่น เช่น หมื่นสรรเพธภักดี เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ตำแหน่งหัวหมื่นทั้งสี่อยู่ภายใต้การดูแลของจางวางกรมมหาดเล็ก