การย่อยสลายทางชีวภาพ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การย่อยสลายทางชีวภาพ, Example:ขบวนการที่สารเคมีสลายตัว (decomposition) ในสภาพแวดล้อม ทางกายภาพโดยระบบชีวภาพ (biological system) ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ [สิ่งแวดล้อม]
ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้, Example:สารอินทรีย์ในขยะมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้ ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้ปฏิกิริยาชีวเคมี เช่น เศษอาหาร เศษไม้ ฯลฯ [สิ่งแวดล้อม]
ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้, Example:สารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ ที่ย่อยสลายได้ในขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ โดยปฏิกริยาชีวเคมี เช่น เศษโลหะ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม]
ไบโอเอทานอล, เอทานอลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลาย หรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์รวมทั้งของเสียในสภาวะไร้อากาศ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้[เทคโนโลยีชีวภาพ]
ไบโอก๊าซ, ไบโอก๊าซ คือก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์ รวมทั้งของเสียในสภวะไร้อากาศ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์[เทคโนโลยีชีวภาพ]
ซีโอดี, ซีโอดี คือปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในน้ำเสียค่าซีโอดีที่สูงกว่าแสดงว่า ปฏิกิริยาการย่อยสลายนั้นต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่า ค่าซีโอดีสามารถใช้เป็นตัววัดทางอ้อมของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ในน้ำ[เทคโนโลยีชีวภาพ]
ยางธรรมชาติที่เตรียมโดยการกำจัดโปรตีนที่มีอยู่ในยางธรรมชาติออกไป สามารถทำได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง วิธีที่นิยมใช้ในการกำจัดโปรตีน คือ การย่อยสลายโปรตีนด้วยเอนไซม์ (proteolytic enzymes) เช่น เอนไซม์ปาเปอิน (papain) หรืออาจใช้ด่าง (alkaline hydrolysis) หรือใช้น้ำร้อนในการกำจัดโปรตีน[เทคโนโลยียาง]
การย่อยสลายของโปรตีนทั่วไปในร่างกาย[การแพทย์]
ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (บีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าบีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ภาวะย่อยสลาย, สภาพการดำรงชีวิตของผู้ย่อยอินทรียสารซึ่งดำรงชีพโดยได้พลังงานจากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต เช่น พวกเชื้อรา แบคทีเรีย เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร, กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพโดยได้พลังงานจากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ เห็ดราและแบคทีเรียบางชนิด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ฟังไจ, สิ่งมีชีวิตที่มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มักมีโครงสร้างเป็นเส้นใยที่เรียกไฮฟา ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตได้โดยได้รับอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แป้ง, สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็นจำนวนมาก มีสูตรทางเคมีทั่วไปคือ (C6H10O5)n เมื่อย่อยสลายโดยเอนไซม์หรือต้มกับสารละลายกรดจะได้กลูโคส[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แบคทีเรียแอนแอโรบิก, แบคทีเรียเฮเทอโรโทรฟิก ที่สามารถย่อยสลายโมเลกุลของอาหารโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนในรูปของสารอิสระ แต่ใช้ออกซิเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่ถูกทับถมกันนาน ๆ จะเกิดการเน่าเปื่อยย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หลายชนิด เหมาะสำหรับการเพาะปลูก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ขยะย่อยสลาย, ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ ใบไม้ เศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ขยะทั่วไป, ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกที่เปื้อนอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
วงจรย่อยสลายน้ำตาล[การแพทย์]