น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ).
ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) P. S. Green ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี ๓ พู มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา.
น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง.
น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล.
ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า กล้วยกำยาน.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิด ในสกุล Ehretiaวงศ์ Ehretiaceae คือ ชนิด E. acuminata R. Br. ขอบใบจักถี่ ผลกลมเล็ก กินได้และชนิด E. timorensis Decne. ดอกเล็กมาก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอม.
น. ท่อนไม้ของต้นตะแบก พิกุล และบุนนาค ที่ผุราขึ้นเป็นจุดขาว ๆ มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum ilicioides A. Chev. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกและเนื้อไม้มีกลิ่นหอม, พายัพเรียก พลูต้น.
(คฺลอ-) น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย.
(คฺวีนสิหฺริกิด) น. ชื่อกล้วยไม้พันธุ์ Cattleya‘Queen Sirikit’ ในวงศ์ Orchidaceae เป็นลูกผสม ดอกใหญ่ สีขาว ปากเหลือง สวยงามมากและมีกลิ่นหอม.
ว. ที่มีกลิ่นหอมทำให้สัตว์มัวเมา.
น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กำยาน.
น. สิ่งต่าง ๆ ที่มีกลิ่นหอม เช่น แป้งร่ำ น้ำอบไทย, สิ่งที่ทำให้มีกลิ่นหอม เช่น ชะมดเช็ด กำยาน พิมเสน.
(-ทิบพะยะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ รากขิงแครง.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Myristica fragrans Houtt. ในวงศ์ Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Trigonella foenumgraecumL. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดใช้ทำยาได้ และใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า ลูกซัด.
(โดน) ก. หอม, มีกลิ่นหอมที่ฟุ้งไป, เช่น กระทึงทองลำดวนโดร รสอ่อน พี่แม่ (กำสรวล).
น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน.
(เทบพะ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae ใบ เปลือก และราก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, จวง หรือ จวงหอม ก็เรียก.
(ทะเวตฺรี-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๒ ชนิด ชนิดละ ๓ อย่าง คือ ดอกบุนนาค แก่นบุนนาค รากบุนนาค กับ ดอกมะซาง แก่นมะซาง รากมะซาง.
น. เทียนที่มีส่วนผสมของสิ่งที่มีกลิ่นหอม จุดใช้ควันอบขนมเป็นต้น.
เครื่องหอมที่ป่นเป็นผงแล้วทำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปกรวย ขดเป็นวง ใช้จุดให้มีกลิ่นหอม.
น. นํ้าที่ลอยดอกมะลิเป็นต้น มีกลิ่นหอม ใช้ผสมทำขนม ทำเป็นน้ำข้าวแช่ ทำน้ำอบไทย เป็นต้น.
น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วยเอทิลแอซีเทต (ethyl acetate) มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่นขนมเป็นต้น.
น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด (Melaleuca cajuputi Ponell) ใช้สำหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม.
น. กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม.
ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes nivea Craib ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.
(เปฺราะ) น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและทำยาได้, เปราะหอม ก็เรียก.
ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่นให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่นและดับกลิ่นตัว.
น. ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด Polygonum odoratum Lour. ในวงศ์ Polygonaceae ต้นและใบมีกลิ่นหอมฉุน ใบอ่อนและกิ่งกินได้ ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ผักแพว, เรียกเพี้ยนเป็น พักแพว พัดแพว เพ็งแพว หรือ แพ็งแพว ก็มี, พายัพเรียก ผักไผ่.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Citrus hystrix DC. ในวงศ์ Rutaceae ผลขรุขระ รสเปรี้ยว ผิวและใบมีกลิ่นหอมฉุน ใช้แต่งกลิ่นและรสอาหาร ใช้ทำยาได้.
น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C10H20O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๔๒ °ซ. มีกลิ่นหอมเย็น มีอยู่ในนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จากพืชบางชนิด เช่น นํ้ามันมินต์ซึ่งสกัดจากใบมินต์ ใช้ประโยชน์ในทางยาปรุงกลิ่นและปรุงรส.
ชื่อพรรณไม้ในวรรณคดีมีกลิ่นหอม.
น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Nerium oleander L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ.
น. ชื่อเรียกต้นเพศผู้ของเตยในสกุล Pandanus วงศ์ Pandanaceae ขอบใบและกาบหุ้มดอกมีหนาม ดอกมีกลิ่นหอม, ปาหนัน ก็เรียก, พายัพเรียก เกี๋ยงคำ.
ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria thyrsiflora Thunb. ในวงศ์ Dracaenaceae ดอกสีขาว กลางคืนมีกลิ่นหอม.
น. เมล็ดของต้นซัด (Trigonella foenumgraecum L.) ในวงศ์ Leguminosae ใช้ทำยาได้ โบราณนิยมใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม.
น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง บวบ น้ำเต้า หัวปลี ยอดฟักทอง ปรุงด้วยหัวหอม พริกไทย กะปิ ตำกับกุ้งแห้งหรือปลาย่าง บางทีก็มีกระชายด้วย ใส่ใบแมงลักให้มีกลิ่นหอม.
(สันละกี) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Boswellia serrata Roxb. ex Colebr. ในวงศ์ Burseraceae ยางมีกลิ่นหอม ใช้ทำยาได้.
(สะหฺมุนละ-) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Temmodaphne thailandica Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกมีกลิ่นหอมร้อน ใช้ทำยาได้.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum inerme (L.) Gaertn. ในวงศ์ Labiatae ดอกสีขาวอมม่วงอ่อนมีกลิ่นหอม ขึ้นตามป่าชายเลน ใช้ทำยาได้.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Homalomena rubescens (Roxb). Kunth ในวงศ์ Araceae เหง้ามีกลิ่นหอมใช้ทำยาได้, ว่านเสน่ห์จันทร์แดง ก็เรียก.
(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม.
น. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มีกลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.