ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย.
ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม.
(กอระ-) น. กระพุ่ม เช่น สนธยากรภุมบุษ ปบังคมบำบวงสรณ (อนิรุทธ์).
ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา.
ใช้ว่า กำมพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจำกำมพฤกษ์บังคมไหว้ (รามเกียรติ์ ร. ๒).
(-มะพฺรึก) น. กัลปพฤกษ์ เช่น พวกประจำกำมพฤกษ์บังคมไหว้ (รามเกียรติ์ ร. ๒).
น. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ.
ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน).
(ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
น. ท่ารำกระบี่กระบอง เพื่อแสดงความเคารพ เป็นท่าต่อจากท่าถวายบังคม มี ๒ แบบ คือ ขึ้นพรหมนั่ง และ ขึ้นพรหมยืน.
น. ดูว่าไม่ดี เช่น เมื่อแขกเมืองมาแลเบีกเข้าไปถวายบังคม บมิได้นุ่งห่มเสื้อสนอบซึ่งพระราชทานนั้น แลนุ่งห่มเสื้อผ้าอื่นมิควรให้มาดูร้าย (สามดวง กฎมณเทียรบาล).
ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
คำเติมหน้าในภาษาเขมร หมายความว่า ทำให้ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ วรรค ก เช่น บังเกิด บังควร บังคม หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค จ หรือ วรรค ด แปลงเป็น บัน เช่น บันจวบ บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค บ แปลงเป็น บำ เช่น บำบัด บำเพ็ญ.
ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา, เช่น สนธยากรภุมบุษ ปบังคมบำบวงสรณ พระไทรบริมณ ฑลเทพยสิงศักดิ์ (อนิรุทธ์).
(ผะคม) ก. ไหว้, แผลงเป็น บังคม ก็ได้.
น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
น. งานที่รัฐบาลจัดขึ้นโดยกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงรับไว้มีกำหนดการเป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน เช่นวันที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า.
(ละบม) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกำสรดไปมา (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้าอาบศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวายบังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สำนักพระราชวัง เป็นการกราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ.
ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคำกราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี (หนังสือเจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.