น. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง (เห่กล่อม).
ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย), หรือ ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย), พูดหรือทำให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด.
ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนำหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
ว. คำแสดงความไม่แน่ใจ, คำแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.
น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ (สามดวง).
(กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป (สุภาษิตสุนทรภู่).
(กฺริดะ-) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี.
(กฺริดานชะลี) ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี ว่า มีกระพุ่มมืออันทำแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎาญ.
(กฺริดาทิกาน) ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
(กะลำพอน) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กะลำพร กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี.
(กะวี) น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความนึกคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความเป็นจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งโดยฉับพลันทันที.
(กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
(กันถัด) น. ชื่อม้าตระกูลหนึ่ง, ในบทกลอนใช้เรียกม้าทั่วไป.
(กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย).
(เกด, เกดสะ-) น. ผม, ในบทกลอนใช้หมายถึง หัว ก็มี เช่น ก้มเกศ.
(คฺระ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
ก. แสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทำให้หวาดกลัว เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี (สมุทรโฆษ).
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.
น. เสาตะลุง, ในบทกลอนใช้ จระลุง ก็มี.
ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.
น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า.
ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี.
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
(ชะระ-) เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชริน เป็น ชรริน.
(ชะระ) เป็นพยางค์หน้าของคำในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
ว. เห็นจะ, เห็นทีจะ, ท่าจะ, บางที, ในบทกลอนใช้ว่า รอย ก็มี เช่น เจ้าจุ&npsp;ํพลภูมิศร์ รอยไพริศร้ายกำจัดจร (ม. คำหลวง วนประเวศน์).
ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ดะดัก ดะดุ่ม.
(-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย).
ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น คนทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่ของตน, ในบทกลอนใช้ว่า ตาง ก็มี.
คำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ทะท่าว ทะทึก.
น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล
(ทาตฺรี) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี.
(นิมมานะระดี, นิมมานอระดี) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสุนิมมิตมารเป็นใหญ่ในชั้นนี้, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ).
น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
ผัว. (ป., ส. ปติ), ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
(บด, บดทะ-) น. เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทเรศ บทวเรศ บทวลัญช์ บทวาร บทศรี บทามพุช, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ ).
(พฺรม, พฺรมมะ-) น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี
(พฺลบ) น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
คำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
ก. ไปด้วยความยากลำบาก เช่น เขาต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างแดน, ในบทกลอนใช้ว่า ระเหินระหก.
ก. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, อยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ, ระเหเร่ร่อน ก็ว่า, ในบทกลอนใช้ว่า ระเหหน ก็มี.
น. เพลง, บทกลอน, เช่น ร้องส่งลำ ร้องแก้ลำ ละครพูดสลับลำ.
น. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย.
ว. เมื่อยล้า, เหนื่อยอ่อน, บอบชํ้า, ในบทกลอนใช้ว่า เมลื่อยมล้า ก็มี.
ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอนใช้แผลงเป็น พก ก็มี.