น. ระยะความสูงที่นกเขาบินขึ้นไปถึงได้ เช่น พระปฐมเจดีย์สูงชั่วนกเขาเหิน.
น. ชื่อเหยี่ยวขนาดกลาง ในสกุล Accipiter วงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักอยู่ตามลำพัง เกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน [ A. trivergatus (Temminck) ]เหยี่ยวนกเขาชิครา [ A. badius (Gmelin) ] เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น [ A. gularis (Temminck & Schlegel) ].
น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก.
ชื่อปลาทะเลในสกุล Diagramma และ Plectorhynchus วงศ์ Haemulidae โดยเฉพาะชนิดที่มีจุดสีเข้มกระจายหรือเรียงเป็นแถวอยู่ข้างตัว หรือบนหัวและครีบ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. pictum (Thunberg) ที่ขณะเป็นปลาขนาดเล็กจะมีแถบกว้างสีดำหรือม่วงดำพาดตามยาวตลอดลำตัวและครีบรวม ๓-๔ แถบ ขณะโตขึ้นแถบเหล่านี้จะแตกออกกลายเป็นจุดใหญ่และเล็กลงตามลำดับ ปลาที่มีขนาดโตมีสีเทาและจุดเหล่านี้จะเล็กลงอีกจนอาจจางหายไปจากบริเวณหัวและท้องคงปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหลัง ครีบหลัง และครีบหางเท่านั้นขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, สร้อยปากหมู ข้างตะเภา หรือ ตะเภา ก็เรียก.
(กรุกฺ-) ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า.
(กฺรุ่ม) ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู (ม. ร. ๔ วนปเวสน์)
เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
(กุระระ, กุรุระ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยายหมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา (สรรพสิทธิ์).
น. ทำนองคูขัน (ใช้แก่นกเขา).
ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า.
เสียงดังอย่างเอาดินปาพุ่มไม้หรืออย่างเสียงนกเขาที่บินออกจากพุ่มไม้.
น. ชื่อโรคนกเขามีอาการนํ้าออกทางปากทางจมูก.
น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Columbidae รูปร่างคล้ายนกเขาแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ตัวสีเทาอมฟ้า อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังแบบง่าย ๆ ตามซอกอาคารด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก หากินบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ในประเทศไทยที่เรียกพิราบ มี ๓ ชนิด ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia Gmelin ชนิดนี้ที่พบตามป่า เรียกพิราบป่า, อีก ๒ ชนิด คือ พิราบป่าอกลาย ( C. hodgsonii Vigors) และพิราบเขาสูง ( C. pulchricollis Blyth).
ก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓)
ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
ก. บินอยู่ในระยะสูง เช่น หงส์เหิน นกเขาเหิน, ร่อนอยู่ในระยะสูง เช่น นกนางแอ่นเหินลม.
อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน