ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ก. รู้ (ใช้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
ส. ท่าน (ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ.
(ชะระ-) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชรอุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี (สมุทรโฆษ).
ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐาน ใช้แก่พระราชวงศ์ฝ่ายในและข้าราชการฝ่ายใน โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของโขลน, ถูกกักบริเวณในวังที่ประทับ โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนมพลเรือน ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่.
น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
น. ธุลี, ฝุ่น, ผง, ละออง.
ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด.
(สะหฺนม) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้น ว่า ติดสนม.
(อะหฺมาด) น. อำมาตย์, ข้าราชการ, ข้าทูลละอองธุลีพระบาท
(อำหฺมาดตะยะ-, อำหฺมาด) น. ข้าราชการ, ข้าทูลละอองธุลีพระบาท