รุ่นนิวตรอน, นิวตรอนที่เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกนิวเคลียสในแต่ละรุ่น โดยนิวตรอนที่เกิดและปล่อยออกมาในรุ่นก่อน จะเกิดการเทอร์มัลไลซ์ และถูกดูดกลืนโดยวัสดุฟิสไซล์แล้วเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสให้นิวตรอนรุ่นถัดมา และเกิดตามกระบวนการนี้ไปเรื่อยๆ <br>ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังทั่วไป จะมีนิวตรอนเกิดขึ้นประมาณ 40, 000 รุ่นในทุก ๆ วินาที</br> <br>(ดู thermalization ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์]
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-อินเดีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยอินเดียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับอินเดีย[การทูต]
การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน "[การทูต]
การประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานทางด้านสารนิเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี[การทูต]
วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย[การทูต]
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเฉพาะด้านอาเซียน-ปากีสถาน เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน โดยปากีสถานและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนสลับกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน[การทูต]
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุก ๆ 18-24 เดือน มีคณะทำงาน 2 คณะ คือ (1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (2) ด้านเศรษฐกิจ[การทูต]
การประชุมหารืออย่างเป็นกันเอง ปัจจุบันมีทั้งในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และระดับปลัดกระทรวง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการหารือเป็นการเฉพาะระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ติดตามและไม่มีระเบียบวาระที่แน่นอน แต่จะเปิดกว้างให้มีการหารือได้ในทุก ๆ ประเด็น[การทูต]
งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก[การทูต]
การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคนที่มีความเฉพาะตามสถานะหรือบทบาท, Example:ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เอดส์ มะเร็ง เบาหวาน หรือ ผู้พิการ ผู้ต้องขัง และผู้ประสบภัย เป็นต้น ซึ่งจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการดำเนินงาน อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านั้นในการปรับตัว ด้วย แน่นอนว่าจะต้องดำเนินงานกับกลุ่มผู้ที[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตตามพื้นที่พิเศษ, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในสถานที่ที่มีความเฉพาะ อาทิเช่น สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฯ เรือนจำ/ราชทัณฑ์ สถานสงเคราะห์ ศาลครอบครัว ศาลไกล่เกลี่ย รวมถึงพื้นที่เสียงภัย ประสบภัยพิบัติ หรือประสบเหตุจากการสู้รบ เป็นต้น ซึ่งสถานที่นั้นมีกลุ่มคนท[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตสถานบริการสาธารณสุข, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นสถานบริการสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลหรือศูนย์สาธารณสุขในหน่วยงานอื่นนอกจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินง[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตสถานที่ทำงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สถานที่ทำงาน/สถานประกอบการ ทั้งการทำงานในโรงงาน การทำงานในออฟฟิช การทำงานในแคมป์ก่อสร้าง หรือสถานที่ดำเนินการรูปแบบอื่น เช่น ห้าง ร้านค้า ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินงานและแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคน[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตสถานศึกษา, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สถานศึกษาทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินงานและแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคน นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เด็ก นักเรียน นักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นต้น[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตสังคม, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สังคมภาพรวมหรือสังคมของกลุ่มคน (สังคมกลุ่มใหญ่) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายหรือแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเรียน แรงงาน วัยเกษียณ กลุ่มพนักงาน สื่อมวลชน เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตชุมชน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ชุมชน (สังคมเล็ก ๆ) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน กลุ[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตครอบครัว, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ครอบครัว ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ ลูกหลาน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ปู่ยาตายาย เป็น[สุขภาพจิต]
สุขภาพจิตระดับบุคคล, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคน ทุกระดับ โดยส่วนใหญ่จะเน้นตามวัย ตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ แรงงาน ผู้ต้องขัง เป็นต้น ซึ่งจะ[สุขภาพจิต]
แกนสมมาตร, เส้นตรง L จะเป็นแกนสมมาตรของจุด P และจุด Q เมื่อลากส่วนของเส้นตรง PQ แล้ว L จะแบ่งครึ่งและตั้งได้ฉากกับส่วนของเส้นตรง PQ และในกรณีนี้กล่าวได้ว่าจุด P สมมาตรกับจุด Q L จะเป็นแกนสมมาตรของเส้นโค้ง C หรือ รูป A ใด ๆ เมื่อทุก ๆ จุดบนเส้นโค้งหรือบนรูปนั้นสมม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
วิธีกำลังสองน้อยสุด, วิธีการประมาณค่าของจำนวนคงตัวซึ่งปรากฏอยู่ในสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยอาศัยหลักที่ว่า สมการที่สร้างขึ้นจะดีที่สุด ถ้าผลรวมของกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าที่ได้จากความสัมพันธ์เชิงฟิงก์ชันที่สร้างขึ้น กับค่าที่เกิดขึ้นจริงทุก ๆ ค่า มีค่า[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
นิวตรอน, อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งมีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า อยู่ในนิวเคลียสของ ทุก ๆ ธาตุ ยกเว้นไฮโดรเจน มีมวล 1.0087 µ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โปรตอน, อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งมีประจุบวกซึ่งมีขนาดเท่ากับประจุของอิเล็กตรอน มีมวล 1.6726 x 10-27 กิโลกรัม ซึ่งเป็น 1836.12 เท่าของมวลของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นส่วนประกอบของนิวเคลียสของทุก ๆ ธาตุ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การสำมะโน, การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากรในเรื่องที่สนใจศึกษา เช่น สำมะโนประชากรของประเทศไทย เป็นการนับจำนวนประชากรทั้งหมด ที่อาศัยอยู่ในประเทศ จำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญ และสนใจศึกษา เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง, การเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยที่เลือกมาเป็นตัวแทนจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาเท่านั้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น, การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นเหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายขั้น โดยกำหนดให้เลือกตัวอย่างมาจากแต่ละขั้น ข้อดีของการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นก็คือ ไม่จำเป็นต้องมีกรอบตัวอย่างที่สมบูรณ์ในทุก ๆ ขั้น ให้มีกรอบตัวอย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]