น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก
ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจำยาม.
ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ด้นดั้นไปตามหาเธอ, ด้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า.
ก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ดั้นหมอกออกเมฆด้วยฤทธิไกร ผ่านพิชัยขีดขินบูรินมา (รามเกียรติ์ ร. ๑), มักใช้เข้าคู่กับคำ ด้น เป็น ดั้นด้น หรือ ด้นดั้น.
ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น จะไกลแค่ไหน ฉันก็จะดั้นด้นไปหาเธอ, ด้น หรือ ด้นดั้น ก็ว่า.
น. ชื่อโคลงประเภทหนึ่ง เรียกว่า โคลงดั้น เช่น โคลงดั้นบาทกุญชร โคลงดั้นวิวิธมาลี และชื่อร่ายประเภทหนึ่ง เรียกว่า ร่ายดั้น.
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.
น. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นสลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา (ลอ)
ก. ตะบัน, ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง, เช่น ดาบดั้งดึงโดดดั้น จะบันแรง (ยอพระเกียรติกรุงธน).
แก้วมีค่า เช่น ทับทรวงดวงกุดั่นจินดาแดง (อิเหนา).
(เซาะ) น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ, เช่น สารไพรเสียไพรไกลกลาง ดงดั้นด่านทาง แลลงในเซราะซรอกซรอน (สมุทรโฆษ).
ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น หนทางไกลเท่าใดก็จะด้นไปหา, ด้นดั้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า
ก. ดั้นไป, เดาไป, ตะบึงไป, เช่น แล้วดำเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง (คาวี).
คำต้นของไม้เลื้อยพวกหนึ่งที่มีดอกเป็นพวง มีหลายชนิด เช่น พวงแก้วกุดั่น พวงชมพู พวงนาค.
อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ
โดยปริยายหมายความว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร.