ก. เป็นทุกข์กังวลเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบความรู้สึกอย่างรุนแรง เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณ.
น. ชื่อไผ่หลายชนิดในสกุล Dendrocalamus วงศ์ Gramineae ชนิดปล้องเล็กยาว เนื้อบาง ใช้เป็นลำกล้องเป่าลูกดอกหรือลูกดินเหนียวปั้นกลมเป็นต้น เรียกว่า ไม้ซาง.
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Madhuca pierrei (F. N. Williams) H. J. Lam ในวงศ์ Sapotaceae ผลขนาดหมากดิบ สีเขียว มียางมาก รสหวานเย็น.
น. ไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เนื้อบาง ลำปล้องโต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕-๑ เซนติเมตร มีช่วงลำปล้องยาวประมาณ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร ใช้ทำเป็นลำกล้องเป่าลูกดอกหรือลูกดินเหนียวปั้นกลมเป็นต้น.
น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เกิดแก่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน, ตะบองราหู ละบองราหู หรือ ลำบองราหู ก็เรียก.
(-เหฺม่า) น. เขม่าซาง, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า กระเหม่าซาง.
(กฺราย) น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก กระหายนํ้า.
น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นและในปาก มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทำให้หน้าเขียว บางทีก็เหลืองหรือดำ ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกำ เท้างอ.
น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นหรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน.
น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน.
น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ซางโจร.
น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เกิดแก่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน, กระบองราหู ละบองราหู หรือ ลำบองราหู ก็เรียก.
น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้อ้อหรือไม้ซาง บรรจุดินดำที่ทำด้วยดินประสิว กำมะถัน กับถ่านไม้ และตอกให้แน่น มีรูชนวนสำหรับจุด แล้วประกอบเข้ากับกง.
(ทะเวตฺรี-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๒ ชนิด ชนิดละ ๓ อย่าง คือ ดอกบุนนาค แก่นบุนนาค รากบุนนาค กับ ดอกมะซาง แก่นมะซาง รากมะซาง.
น. กลิ่นหอม ๒ อย่าง คือ กลิ่นที่เกิดจากรากบุนนาคและรากมะซาง.
เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอนอยู่เสมอ ว่า คนต้องธรณีสาร.
(นินละ-) น. พิษซางอย่างหนึ่งมีสีดำที่โคนแขนเป็นแผ่นเดียว.
น. ชื่อยาไทยแก้ลมเพื่อซางโค.
น. ชื่อยาไทยขนานหนึ่ง มีสีดำ ใช้เป็นยาสมานกวาดคอเด็ก แก้หละ ละออง ซาง.
น. ชื่อละอองหรือฝ้าในปากเด็กเล็ก ๆ เกิดเพราะเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซางโค.
(มูนละ-) น. ชื่อยาแก้ลมซางชนิดหนึ่ง.
น. ยาที่ใช้ป้ายบริเวณโคนลิ้นเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง.
น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ซางอันเดียว มีเต้าสำหรับเป่า.
น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เกิดแก่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน, กระบองราหู ตะบองราหู หรือ ลำบองราหู ก็เรียก.
น. ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เกิดแก่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน, กระบองราหู ตะบองราหู หรือ ละบองราหู ก็เรียก.
(-บาน) น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.
น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.