น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มี ๒ หน้า รูปร่างลักษณะคล้ายกลองทัดแต่เล็กกว่ามาก ตีด้วยไม้ ๒ อัน เช่นเดียวกับกลองทัด แต่วิธีการตี ลักษณะของไม้ตี และเสียงจะแตกต่างจากกลองทัด ใช้ร่วมในวงปี่พาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า ปี่พาทย์ชาตรี ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดออกภาษาหรือสิบสองภาษา และใช้ประกอบการบรรเลงในเพลงทำนองตะลุง กลองชาตรีมักใช้บรรเลงคู่กับโทน เรียกว่า โทนชาตรี มีชื่อเรียกตามเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตุ๊ก.
(-ตฺรี) น. เรียกชายที่มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพันหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ ว่า ชายชาตรี, ปัจจุบันใช้หมายถึงชายที่มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง.
(-ตฺรี) น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี
ชื่อเพลงที่มีคำนี้อยู่ คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน โอ้ชาตรี ร่ายชาตรี, ชื่อวงปี่พาทย์ลักษณะหนึ่ง ประกอบด้วยโทน ปี่ตับ ฆ้องคู่ แกระ กลองชาตรี วงปี่พาทย์.
น. ชายผู้มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพันหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้, ชายที่มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง.
น. การรำไหว้ครูก่อนที่จะแสดงละครชาตรี.
น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายโทนแต่ขนาดสั้นและอ้วนกว่า มักทำด้วยไม้ เวลาตีสอดไว้ใต้ขาพับ ใช้เป็นคู่ เรียกว่า ตัวผู้ตัวเมีย.
น. ละครต้นแบบของละครรำ เดิมเล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไปในภาคใต้ มีทำนองเพลงร้องเป็นการเฉพาะ ใช้ตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวนายโรงจะแต่งตัวยืนเครื่องเสมอ ตัวละครที่ไม่สำคัญไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้ประณีตนัก.
จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง ซัดกันนุงตามถนนแห่กรวดลาว (อิเหนา).
น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น เทพทอง เทพชาตรี เทพบรรทม เทพนิมิต เทพรัญจวน.
ผู้แสดงตัวพระในละครชาตรี.
น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, มโนราห์ ก็ว่า.
ก. นั่งเข้าสมาธิแล้วบริกรรมคาถา เพื่อให้อยู่คงกระพันชาตรี.
น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.
น. ละครรำแบบหนึ่ง วิวัฒนาการมาจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่กำหนดให้แสดงในละครใน.
น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ มีหลายแบบ เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์.