น. ชื่อปีที่ ๑๒ ของรอบปีนักษัตร มีหมูเป็นเครื่องหมาย.
น. ที่ปรึกษา เช่น พรรคนี้มีกุนซือเก่ง ๆ หลายคน ใครนะเป็นกุนซือให้นายกยุบสภา.
(กุนนะที) น. แม่นํ้าน้อย ๆ, แม่นํ้าเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ (ม. ร่ายยาว กุมาร).
น. รก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสกุน.
น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในวงศ์ Carangidae ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองบนข้างตัว มักมีจุดสีดำที่มุมแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หรือเล็กใกล้ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นชนิดในสกุล Selaroides ซึ่งมีชนิดเดียว คือ S. leptolepis (Cuvier) และชนิดในสกุล Alepis, Selarส่วนสกุล Atuleมีชนิดเดียวคือ A. mate (Cuvier) ปลาเหล่านี้มีขนาดยาว ๑๔-๒๗ เซนติเมตร.
(กุน, กุนละ-, กุละ-) น. ตระกูล, สกุล.
(กุนละ-) น. ลูกหญิงผู้มีตระกูล.
(กุนละ-) น. หัวหน้าตระกูล.
(กุนละ-) น. ลูกชายผู้มีตระกูล.
(กุนละสัดตฺรี, กุนละสะตฺรี) น. หญิงผู้มีตระกูลและมีความประพฤติดี.
(กุนละ-) ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล.
น. ข้าวสุกราดหน้าด้วยผัดน้ำข้น ใส่ไก่ เห็ด หน่อไม้ บางทีโรยด้วยกุนเชียงหั่นทอดกรอบ.
น. ข้าวสุกที่ปรุงรสและใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ แล้วอบให้ร้อน เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น ข้าวอบหนำเลี้ยบ ข้าวอบกุนเชียง.
น. เครื่องปกปิดร่างกายที่ทำด้วยหญ้า เช่น ควรหรือมานุ่งคากรอง ควรแต่เครื่องทองไพศาล (ศกุนตลา).
(นักสัด) น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด–หนู ฉลู–วัว ขาล–เสือ เถาะ–กระต่าย มะโรง–งูใหญ่ มะเส็ง–งูเล็ก มะเมีย–ม้า มะแม–แพะ วอก–ลิง ระกา–ไก่ จอ–หมา กุน–หมู.
น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน ไส้มีหมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก.
(บาดสะกุนี) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, เสมอตีนนก ก็เรียก.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕.
น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนำแป้งสาลีมาทำให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด.
น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก.
(รอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เรียกว่า รอ เรือ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น การ วาร, เมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีพยางค์อื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียงประสมสระ ออ และตัว ร ออกเสียง ระ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
(สะเหฺวดกุนชอน) น. ช้างเผือก.
(สะกุน) น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
(สะกุนรุนชาด) น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ.
(-นาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.
น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Atule mate (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก.