(อุปัดชายะ-, อุบปัดชายะ-, อุปัดชา, อุบปัดชา) น. พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา.
(อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด) น. กิจที่สัทธิงวิหาริกจะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน.
น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตอง ว่า ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด
ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
น. พระที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบลซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ.
น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทานให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทำประโยชน์ในราชการส่วนพระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาต.
ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระภิกษุ เช่น ก่อนเข้าพรรษาพระภิกษุต้องไปทำวัตรพระอุปัชฌาย์ที่อยู่ต่างจังหวัด.
ก. นำไปโดยกิริยาอ่อนน้อม เช่น น้อมนำเครื่องสักการะไปถวายพระอุปัชฌาย์, (ปาก) นำไปด้วยความอ่อนน้อม เช่น น้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติ.
ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล.
น. คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น.
น. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่างผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า.
น. หนังสือที่พระอุปัชฌาย์ออกให้พระภิกษุหรือสามเณรเพื่อรับรองสถานภาพความเป็นภิกษุหรือสามเณร.
เรียกพระที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น ว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น ว่า เจ้าอธิการ
(อุปาดทะยาย, อุบปาดทะยาย) น. อุปัชฌาย์.