ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง.
(เกฺรียง) ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สำเนียงเกรียงระงม (ม. คำหลวง กุมาร).
น. ส้มเกลี้ยง. (ดู ส้ม ๑).
(-เหฺลียง) น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทำเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก.
(ขะแหฺยง) ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า.
ก. ตีลง, ทุบลง, ฟาดลง, เช่น ถ้ามันโกรธกูจะกรูเข้าคร่า ถ้ามันด่ากูจะดื้อเข้าเดียง ถ้ามันเถียงกูจะถูเข้าถอง (ม. ร่ายยาว ชูชก).
น. หน่อสับปะรดที่แตกออกจากโคนขั้วของผล, หน่อกล้วยไม้ประเภทหวายที่แตกออกจากข้อ.
น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
(เปฺรียง) น. นํ้ามัน โดยเฉพาะใช้สำหรับนํ้ามันไขข้อของวัว.
(เพฺรียง) น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Cirripedie ส่วนใหญ่มีเปลือกหุ้มตัวซึ่งเป็นแผ่นหินปูน มีหลายพวก เช่น เพรียงหินหรือเพรียงสนับหรือสนับทึบ วงศ์ Balanidae, เพรียงก้านหรือเพรียงคอห่าน วงศ์ Lepadidae.
น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาวเมี่ยงส้ม.
ก. เอาไม้แซะข้าวให้สุกทั่วกัน, ทำให้โหย่ง, คุ้ย, เช่น โยงข้าว โยงข้าวเม่า.
ว. เย็น เช่น นํ้าล้นเลียงเอมโอช (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ก. ลองเผชิญดู, ลองทำดูในสิ่งที่อาจให้ผลได้ ๒ ทาง คือ ดีหรือไม่ดี แต่หวังว่าจะได้ผลทางดี เช่น งานนี้ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่ ต้องเสี่ยงทำดู.
น. ต้นเนียง. (ดู เนียง ๒).
(ทะวาบอระ-) น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมาผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของแต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่งของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลางสำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
การเปลี่ยนแปลงเสียงซึ่งเกิดจากการเชื่อมเสียง ๒ เสียง ที่อยู่ชิดกันให้กลมกลืนกัน ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีพยัญชนะสนธิ เช่น ทุส + ชน เป็น ทุรชน สระสนธิ เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม และนิคหิตฺสนธิ เช่น เอวํ + เม เป็น เอวมฺเม ในภาษาอื่น ๆ ที่มีวรรณยุกต์เช่นภาษาจีนมีวรรณยุกต์สนธิ เช่น เกี๊ยม + ฉ่าย เป็น เกี่ยมฉ่าย.
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบนยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่งดังเมื่อดูดลมเข้า.