เครื่องหมาย underscore เป็นอักขระตัวหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีลักษณะดังนี้ (-) ถ้าเป็นแป้นในพิมพ์ดีดจะใช้สำหรับขีดเส้นใต้ (underline) แทน แต่ในคอมพิวเตอร์ การขีดเส้นใต้มักนิยมใช้เป็นคำสั่ง (underline) แทน แต่บนแผงแป้นพิมพ์ก็ยังมีแป้นนี้อยู่ เมื่อกดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์จะถือเสมือนเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นการขีดเส้นใต้ได้ต่อไปอีก เช่น อาจตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลว่า A-B ก็ได้
ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis :
(ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes)
(โคลน) n. พวกสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์จากระบบไร้เพศ., See Also:clonal adj. คอมพิวเตอร์เลียนแบบหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำเลียนแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อดัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีราคาถูก โดยปกติ เขาแบ่งระดับขั้นของคอมพิวเตอร์กันดังนี้ คือ ถ้าเป็นระดับที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ก็มีคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม IBM แมคอินทอช Macintosh และคอมแพค Compaq ถัดลงมาอยู่ในระดับเทียบเคียงได้ compatible หมายถึง พวกที่มีชื่อ แต่โด่งดังน้อยกว่า เช่น เอ็ปซอน Epson ที่ขั้นต่ำสุดก็คือพวกที่ทำเลียนแบบในราคาถูก .....ถูกจนคนมักจะชอบเสี่ยงซื้อไปใช้ จึงจะเรียกว่า "clone"
เลขไฟโบนาชชี่หมายถึง แบบแผนทางคณิตศาสตร์แบบหนึ่งที่กำหนดให้ จำนวนเลขลำดับที่สาม เป็นผลบวกของเลขสองตัวที่อยู่ลำดับ ก่อนหน้า เช่น 4, 8, 12, 20, 32..... (12 เป็นผลบวกของ 4 กับ 8 และ 20 เป็นผลบวกของ 8 กับ 12 เป็นดังนี้ไปเรื่อย ๆ) ใช้ได้ดีในการเขียนโปรแกรมบางโปรแกรม เพราะทำให้สามารถเข้าสู่จุดตำแหน่งที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น (บางทีเรียก fibonacci series หรืออนุกรมไฟโบนาชชี)
ทำหน้าที่กระตุ้น ควบคุมการทำงานของต่อมเพศทั้งชายและหญิง โดยแบ่งได้ดังนี้ 1.FSH 2.LH 3.ICSH
ตัวเล็กใช้เมื่อพูดถึงแป้นพิมพ์ หมายถึง การพิมพ์ตัวเล็กในความหมายที่ไม่ใช่ capital letter เช่น a b c d .. (ถ้า เป็นตัวใหญ่ ต้องมีลักษณะดังนี้ เช่น A B C D ภาษาไทยไม่มีตัวเล็ก/ตัวใหญ่ lower case จึงหมายถึง อักขระตัวล่าง และ upper case หมายถึงอักขระตัวบนของแป้นพิมพ์ดู upper case เปรียบเทียบ
หมายถึง อักขระตัวหนึ่งมีลักษณะดังนี้ I บนแผงแป้นอักขระจะอยู่แป้นเดียวกับ \
แผงแป้นอักขระคิวเวอตีเป็นชื่อเรียกแผงแป้นอักขระมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อนี้มาจากแป้น 6 แป้นแรกในแถวที่ 3 ที่เรียงอยู่ดังนี้ QWERTY
กุญแจรองในการสั่งค้นหาหรือเรียงลำดับข้อมูล จะต้องมีการกำหนดว่าจะใช้ตัวอักษรใด ข้อความใดเป็นตัวกำหนด ที่เรียกว่า " กุญแจ " (key) ตัวที่สำคัญเป็นอันดับแรก เรียกว่า "กุญแจหลัก" (primary key) ส่วนตัวสำคัญรองลงมา ก็เรียกว่า " กุญแจรอง " (secondary key) เช่น กำหนดให้อายุ 20 ปี เป็นกุญแจหลัก และเป็นชาย เป็นกุญแจรอง ดังนี้ก็หมายความว่า ต้องการหาชายที่มี 20 ปี เป็นต้น ดู primary key เปรียบเทียบ