(แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ
1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM
การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์
(เดล'ละคะซี) n. ความละเอียดอ่อน, ความประณีต, ความอ่อนช้อย, คุณสมบัติที่แตกง่าย, ความบอบบางที่ต้องใช้ความระมัดระวัง, ความอ่อนแอ, ความแคล่วคล่อง, ความยากที่จะจัดการ, ความลำบาก., Syn.modesty
จุดต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า dpi เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว
(ดีพีไอ) ย่อมาจาก dots per inch (จุดต่อนิ้ว) เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมชัด (resolution) ของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว
(ไฟนฺ'เน็ส) n. ความดีเลิศ, ความประณีต, ความงดงาม, ความละเอียด, ปริมาณเนื้อโลหะบริสุทธิ์ในโลหะผสม
n. ความคล่องแคล่ว, ความประณีต, ความละเอียดถี่ถ้วน
ความละเอียดสูงมีความคมชัดใช้บอกคุณสมบัติของจอภาพ และเครื่องพิมพ์ที่สามารถแสดงรูปภาพ และตัวอักขระต่าง ๆ ได้คมชัดมากดู low resolution เปรียบเทียบ
เครื่องพิมพ์เลเซอร์หมายถึง เครื่องพิมพ์แบบหนึ่งที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการสร้างภาพและถ่ายทอดลงสู่กระดาษด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร) ความ เร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นวัดกันเป็นหน้าต่อนาที (ppm) เช่น 10 หน้าต่อนาที เป็นต้น (เพราะพิมพ์ครั้งละหนึ่งหน้า) ส่วนคุณภาพของการพิมพ์นั้น วัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dpi) เช่น 600 จุดต่อ 1 นิ้ว ยิ่งมีจุดมาก แสดงว่ามีความละเอียดมาก ภาพจะคมชัดกว่าภาพที่มีจุดน้อยหรือมีความละเอียดน้อย ดู dot matrix printer เปรียบเทียบ