คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
การเข้าถึงรายการวัสดุสารสนเทศExample:<p>การกำหนดรายการทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ และสามารถใช้บริการสารสนเทศนั้นได้ถ้าตรงกับความต้องการ การกำหนดรายการบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ได้นั้น บรรณารักษ์หรือนักเอกสารสนเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์สารสนเทศเพื่อกำหนดตัวแทนของเนื้อหาหรือของสารสนเทศนั้น ตัวแทนของเนื้อหามักจะเป็นคำ กลุ่มคำ รหัส ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นช่องทางหรือจุดเข้าถึงรายการบรรณานุกรมของสารสนเทศที่ต้องการ รายการเข้าถึงนี้ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น รายการเข้าถึงนี้จำแนกได้เป็นรายการหลักและรายการเพิ่ม การกำหนดเลือกว่าจะเป็นรายการใดนั้น ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณา คือ การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน (Anglo-American Cataloging Rules) <p>รายการ หลัก คือ รายการแรกที่ลงในรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ โดยทั่วไปรายการหลักจำแนกออกเป็นรายการหลักชื่อบุคคล นิติบุคคล และชื่อเรื่อง <p>รายการเพิ่ม คือ รายการเข้าถึงที่กำหนดเพิ่มนอกเหนือรายการหลักที่มีอยู่ โดยอาจทำภายใต้ชื่อบุคคล ชื่อนิติบุคคล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ตลอดจนรายการจำแนกหรือรายการเพิ่มอื่นๆ ที่เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ได้มากยิ่งขึ้น <p>ใน การกำหนดรายการเพื่อการเข้าถึงนั้น AACR2R (Anglo-American Cataloging Rules 2nd ed. 1988 Revision) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้เพื่อเป็นรายการเข้าถึง ทั้งที่เป็นรายการหลักและรายการเพิ่มไว้ให้เป็นแนวทางในการพิจารณา โดยที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีรายละเอียดมาก ทั้งนี้จะมีตั้งแต่ <p> 1. การแจ้งถึงแหล่งข้อมูลสำคัญ (Chief source of information) ที่ใช้ในการเลือกรายการเข้าถึง <p> 2. การเลือกรายการ (ชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของผลงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 3 คน / ผลงานที่มีผู้รับผิดชอบมากกว่า 3 คน / ผลงานที่มีผู้รับผิดชอบที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน / การลงรายการนิติบุคคล / การลงรายการชื่อเรื่องที่เป็นรายการหลัก / การลงรายการชื่อเรื่องแบบฉบับ เป็นต้น) <p> 3. รูปแบบในการลงรายการ เช่น รูปแบบการลงชื่อบุคคลชาวต่างประเทศ ชื่อพระมหากษัตริย์ ชื่อพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ / รูปแบบการลงรายชื่อนิติบุคคล / รูปแบบการลงรายการชื่อภูมิศาสตร์ เป็นต้น <p> ตัวอย่าง ในหน้าปกใน หรือ Title page ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการพิจารณาเลือกลงรายการที่ปรากฏอยู่ใน หน้านี้เป็นสำคัญ ถ้าไม่สามารถหาข้อมูลจากแหล่งนี้ได้ให้หาจากส่วนอื่น ๆ ในตัวอย่างนี้หน้าปกในปรากฏเพียง <p> ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ OpenSource Software <p> แต่จะมีปรากฏชื่อผู้แต่ง คือ บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ บุญเกียรติ เจตจำนงนุช และ นพพร ม่วงระย้า ในหน้าคำนิยม <p> รายการหลักคือ บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ <p> รายการเพิ่ม (บุคคล) คือ บุญเกียรติ เจตจำนงนุช <p> รายการเพิ่ม (บุคคล) คือ นพพร ม่วงระย้า <p> รายการเพิ่ม (นิติบุคคล) คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ <p> รายการเพิ่ม (ชื่อเรื่อง) คือ ฉลาดเลือก ฉลาดใช้ OpenSource Software <p> รายการเพิ่ม (ชื่อเรื่อง) คือ OpenSource Software <p> รายการเพิ่ม (หัวเรื่อง) คือ 1.โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์, 2. ซอฟต์แวร์รหัสเปิด [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ