(กัดตุ-, กันตุ-) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก.
(กำมะ-) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก, ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้.
ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ข้าขอประณตน้อม กายวจี จิตนา ต่อพระตรีไตรรัตน์ โรจน์เรื้อง เป็นประทีปส่องศรี โลกชัชวาลนา กำจัดมืดมนธ์เปลื้อง สัตว์พ้นสงสาร (หลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร, ในจินดามณีเรียกตรีเพชรทัณฑี).
(ตฺรีเพ็ดทันที) น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ปางนั้นสองราชไท้ ดาบศ สาพิมตไปมา กล่าวแก้ว ประทานราชเอารส สองราช เวนแต่ชูชกแล้ว จึ่งไท้ชมทาน (จินดามณี).
น. ๓ ส่วน, ใช้เป็นชื่ออักษร ๓ หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรตํ่า.
น. วงจร ๓ ส่วน ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันไป เริ่มจาก กิเลสวัฏ คือ วงจรส่วนกิเลส เป็นผลให้เกิด กรรมวัฏ คือ วงจรส่วนกรรม และเป็นผลให้เกิด วิปากวัฏ คือ วงจรส่วนวิบาก วนเวียนกันไปไม่รู้จบ.
น. จำนวนที่เพิ่มขึ้นตามส่วนของจำนวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจำนวนเดิม.
น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
(มะแลง) น. ชื่อสัตว์ขาปล้องในชั้น Hexapoda (Inseeta) มีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ ระยะโตเป็นตัวเต็มวัยร่างกายแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขนาดแตกต่างกันมาก มีขา ๖ ขา มีหนวดหนึ่งคู่ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งส่วนใหญ่มี ๒ คู่ ยกเว้นบางพวกมี ๑ คู่ หรือไม่มี เป็นสัตว์พวกที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบได้ทั่วไป.
น. เรียกปอยผมที่แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนเพื่อเตรียมโกนจุก (ใช้แก่พระองค์เจ้าลงมาถึงสามัญชน).
น. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศ) ว่า ๓ ส่วน.
(อูด) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดใหญ่ หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี ดื่มน้ำทีละมาก ๆ อดน้ำได้นาน ๆ มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก ได้แก่ ชนิด Camelus ferus Przewalski, และชนิดหนอกเดียว ได้แก่ ชนิด C. dromedarius Linn. มีในทวีปแอฟริกา ใช้เป็นพาหนะหรือขนของในทะเลทราย.