น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ ตามพื้นดิน หรือกำแพงที่ชุ่มชื้น เช่น ทางเดินมีขี้ตะไคร่ ระวังจะลื่น
คราบที่เกิดจากโคลนในน้ำ เช่น เด็ก ๆ เล่นน้ำนานจนขี้ตะไคร่จับหน้า.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Glochidion วงศ์ Euphorbiaceae เช่น ชนิด G. daltonii ( Müll. Arg.) Kurz ผลอ่อนกินได้ รากใช้ทำยา.
(ไคฺร้เคฺรือ) น. ชื่อไม้เถาใช้ทำยา.
(-ไคฺร่) น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ บางทีก็เกิดในนํ้าและตามพื้นดินหรือกำแพงที่ชุ่มชื้น.
(-ไคฺร้) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหาร.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon nardus (L.) Rendle ในวงศ์ Gramineae ต้นใหญ่กว่าตะไคร้ กาบและขอบใบสีแดง กลิ่นหอม.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Homonoia riparia Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเรียวเล็ก มักขึ้นตามซอกหินในลำธารและริมนํ้า.
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rotula aquatica Lour. ในวงศ์ Boraginaceae ขึ้นเป็นกอตามซอกหินริมลำธาร กิ่งเรียวกลมเหนียวมาก.
น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใส สีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาลแกมแดง สกัดจากต้นและใบตะไคร้.
น. กลุ่มของต้นไม้ที่เกิดจากต้นหรือเหง้าเดียวกัน เช่น กอไผ่ กอตะไคร้ กอบัว, พืชที่ขึ้นหรือปลูกเป็นกลุ่ม เช่น กอหญ้า กอกุหลาบ.
น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนู เข้าด้วยก็ได้.
น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ.
น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือในกะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็ม อาจใส่นํ้าพริกเผา.
น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณแก่ธาตุทั้ง ๔ จำนวน ๓ อย่าง คือ เหง้ากะทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้.
น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกงมีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับขนมจีน.
น. ชื่อปลวกหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Isoptera ลำตัวสีดำหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินเป็นขบวนเพื่อมากินตะไคร่และคาบไปเลี้ยงตัวอ่อน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes medioflavusHolmgren, H. asahinaiMorimoto, H. birmanicus Snyder ในวงศ์ Termitidae.
น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้ม เครื่องแกงมีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น โขลกแล้วต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม ใบย่านาง เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ ปรุงให้มีรสหวาน เค็ม.
ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน.
น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ลำตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ชนิดมีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางใส ขณะหุบปีกคลุมตัวเป็นรูปคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตามตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือเรียก เหาหนังสือ เช่น ชนิด Psocatropos microps (Enderlein) ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
น. ชื่อสัตว์น้ำเค็มขาปล้องหลายชนิด ในสกุล Artemiaวงศ์ Artemiidae ขนาดยาว ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รยางค์อกมี ๑๑ คู่ แต่ละคู่มีเหงือก เพศผู้มีอวัยวะเพศที่ปล้องท้องปล้องที่ ๑ และ ๒ เพศเมียมีรังไข่ ๑ คู่ที่ปล้องอกปล้องท้าย ๆ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ กินตะไคร่น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ได้ในทุกระดับความเค็ม พบทั่วโลก นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ชนิด A. franciscanaKellogg, ไรสีน้ำตาล หรือ อาร์ทีเมีย ก็เรียก.
(สะหฺนุ่น) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix tetrasperma Roxb. ในวงศ์ Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้าหรือตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือกและรากใช้ทำยา, ตะไคร้บก ก็เรียก.
น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา.