การทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ชั้นโอโซน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
โอโซน[TU Subject Heading]
ชั้นบรรยากาศโอโซน[TU Subject Heading]
การทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน[TU Subject Heading]
สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน[TU Subject Heading]
อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน (ค.ศ.1985). พิธีสาร, ฯลฯ, 15 กันยายน ค.ศ. 1987[TU Subject Heading]
ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
การอบเร่งยางในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อดูการเสื่อมสภาพ หรือ การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ และ สมบัติทางเคมีของยางอันเนื่องมาจากออกซิเจน ความร้อน และโอโซน สามารถนำไปทำนายอายุการใช้งานของยางนั้นๆ ได้[เทคโนโลยียาง]
สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อลดอัตราเร็วในการเสื่อมสภาพของยางอัน เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ออกซิเจน ความร้อน แสงแดด และโอโซน เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดรอยแตกของยางจากการ เกิดปฏิกิริยาระหว่างโอโซนกับยาง[เทคโนโลยียาง]
ยางคลอริเนตพอลิเอทิลีนเป็นยางที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิ ลีนและคลอรีน ยางชนิดนี้มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับปริมาณของคลอรีน สมบัติโดยทั่วไปทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ โอโซน ความร้อน และสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ได้ดี มีการติดไฟต่ำ มีความเสถียรของสีสูงมาก ทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้วปานกลาง แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี นิยมใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิล ท่อยางและชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยาง CSM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิลีนและ ของผสมของก๊าซคลอรีน (Cl2) กับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) มีหลายเกรดขึ้นกับปริมาณคลอรีนในโมเลกุล สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้ค่อนข้างดี ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซนและสภาพอากาศได้อย่างดีเยี่ยม ทนต่อการเปลี่ยนสี (discoloration) อันเนื่องมาจากแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ดีอีกด้วย แต่สามารถทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี ทนต่อกรดและสารเคมีต่างๆ ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้ดีเยี่ยม และยังทนต่อน้ำร้อนได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือ มีค่า compression set ที่ต่ำ และการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำขึ้นกับปริมาณของคลอรีน ถ้าปริมาณของคลอรีนสูงสมบัติการหักงอของยางที่อุณหภูมิต่ำจะด้อยลง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางชนิดนี้ ได้แก่ ปลอกหุ้มสายเคเบิล ท่อยาง ยางหุ้มลูกกลิ้ง ยงบุผนัง ท่อที่ต้องทนต่อกรด แผ่นยางมุงหลังคา แผ่นยางรองสระน้ำ เรือยาง เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา[เทคโนโลยียาง]
ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น[เทคโนโลยียาง]
ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางไฮโดรจิเนตอะไครโลไนไทรล์บิวทาไดอีน หรือยาง HNBR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (Hydrogenation) ของยาง NBR สมบัติของยาง HNBR มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน รังสีที่มีพลังงานสูง และโอโซนสูงมาก ใกล้เคียงกับยาง EPDM และเนื่องจากมี CN อยู่ในโมเลกุลทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันได้ดี ยาง HNBR มีสมบัติทั่วไปอยู่ระหว่างยาง NBR และยางฟลูออโรคาร์บอน เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูง จึงนิยมใช้ยาง HNBR แทนยาง NBR เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้งานในสภาวะที่รุนแรงหรือที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีข้อดีเหนือกว่ายางฟลูออโรคาร์บอน คือ มีความทนทานต่อสารตัวเติมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารประกอบเอมีน ได้ดี จึงนิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยางที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมัน[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
โอโซนซอนด์ หรือเครื่องวัดโอโซน[อุตุนิยมวิทยา]
โอโซนสเปคโทรโฟทอ มิเตอร์[อุตุนิยมวิทยา]
รูรั่วโอโซน[อุตุนิยมวิทยา]
โอโซน, ออกซิเจนรูปหนึ่ง ในแต่ละโมเลกุลจะมี 3 อะตอม เป็นแก๊สไม่มีสี มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จุดเดือด -112.4°C จุดหลอมเหลว - 249.7°C มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาเคมี[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สตราโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศถัดขึ้นไปจากโทรโปสเฟียร์จนถึงระยะสูงประมาณ 50 กิโลเมตรเป็นชั้นบรรยากาศที่มีแก๊สโอโซน ซึ่งสามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงอาทิตย์ไว้ได้มาก ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์ อุณหภูมิของอากาศชั้นนี้ จะสูงขึ้นบ้างจากประมาณ -50° C ที่ระยะต่ำสุ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แก๊สเรือนกระจก, แก๊สที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ได้แก่ ไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูไรด์ สารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน (CFCs และ HFCs)[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]