เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ
เครื่องหมาย underscore เป็นอักขระตัวหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีลักษณะดังนี้ (-) ถ้าเป็นแป้นในพิมพ์ดีดจะใช้สำหรับขีดเส้นใต้ (underline) แทน แต่ในคอมพิวเตอร์ การขีดเส้นใต้มักนิยมใช้เป็นคำสั่ง (underline) แทน แต่บนแผงแป้นพิมพ์ก็ยังมีแป้นนี้อยู่ เมื่อกดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์จะถือเสมือนเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นการขีดเส้นใต้ได้ต่อไปอีก เช่น อาจตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลว่า A-B ก็ได้
ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ
(เอ' ลิแอส) 1. n., (pl. -ases) นามแฝง, สมญานาม. -adv. มีนามแฝงว่า, Syn.pseudonym 2. สมนาม คอมพิวเตอร์แมคอินทอชที่ใช้ System 7 มีคำสั่ง Make Alias ใต้เมนู File คำสั่งนี้ใช้สำหรับสร้างสัญรูป icon อีกอันหนึ่งของแฟ้มข้อมูลที่เลือกไว้ แฟ้มใหม่นี้จะมีคำ alias ต่อท้ายชื่อเดิม หากเมื่อใดมีการแก้ไขแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง โดยเรียกมาทำในจอภาพ แล้วสั่งบันทึกเก็บลงในจานบันทึก การแก้ไขนั้นก็จะมีผลต่อแฟ้มสมนามนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะอันที่จริงแล้ว สัญรูปสมนามนั้นไม่ว่าจะมีสักกี่อัน จะโยงถึงแฟ้มข้อมูลอันเดียวกันทั้งสิ้น ดู duplicate เปรียบเทียบ
แป้นสลับเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ ALT (ย่อมาจาก alternate) อยู่บนแป้น แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล
เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (มีคำ ALT อยู่บนแป้น) แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล
แฟ้มแก้ไข <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่บรรจุรายการเปลี่ยนแปลงหรือรายการแก้ไข เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก (master file) ให้ทันสมัยมีความหมายเหมือน transaction file
เมนูลูกแอปเปิลหมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่สามารถสั่งให้ทำงานในระหว่างที่เครื่องกำลังทำโปรแกรมอื่นอยู่ได้ โปรแกรมเหล่านี้จะรวมอยู่ในเมนูที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกแอปเปิลแหว่ง (แทนที่จะมีชื่อเมนูตามปรกติ) และจะอยู่เป็นรายการแรกซ้ายมือสุดบนแถบเมนู เมนูนี้จะประกอบด้วยรายการย่อยอีกหลายรายการด้วยกัน เช่น นาฬิกา, เครื่องคำนวณ, แผงควบคุม ฯ รวมทั้งที่สำคัญที่สุด คือ แฟ้มภาพ ที่เรียกว่า scrapbook เป็นต้น
วินโดว์โปรแกรม <คำแปล>หมายถึงวินโดว์ของโปรแกรมแต่ละโปรแกรม ถ้าจะสร้างแฟ้มข้อมูล ก็จะมองเห็นมีวินโดว์ใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกวินโดว์หนึ่ง เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window)
(อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง, ความโค้ง, สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง, สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve, arch, bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress)
(อาร์' คี) n. ระบบหนึ่งของผู้ให้การบริการ (servers) ที่ค้นหาไฟล์ที่มีอยู่ สำหรับสาธารณในแหล่งข้อมูลโปรโตรคอลแปลงแฟ้มข้อมูล (FTP, file transfer protocol)
(อา-ไคว์ไฟล์) แฟ้มเก็บถาวร หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่เก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ เป็นลักษณะของแฟ้มข้อมูลชนิดแฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ read only, system archive และ hidden (บางทีใช้ archive เฉย ๆ ก็ได้)
แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
(แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ
(อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn.assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น
ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis :
\ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C:
(แบ็ก) คำ ๆ นี้ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลเพื่อบ่งบอกว่า เป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง (backup file) เช่น autoexec.bak (แฟ้มข้อมูลเดิมชื่อ autoexec.bat) นี้ ในบางกรณี โปรแกรมจะสร้างนามสกุลให้แฟ้มข้อมูลเหล่านี้เองโดยไม่ต้องสั่ง โดยเฉพาะถ้ามีการเก็บแฟ้มข้อมูลที่นำมาแก้ไขแล้วซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แฟ้มที่แก้ใหม่จะใช้ชื่อเดิม แต่แฟ้มเดิมจะกลายเป็นแฟ้มสำรอง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำบางโปรแกรม
(บีเอเอส) ใช้เป็นนามสกุลของแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก
(แบท) 1. { batted, batting, bats } n. กระบองสั้น, ไม้ตีลูกบอล, การตี, แผ่นอิฐ, ก้อนดินเหนียว, ความเร็ว, ก้าว, ค้างคาว, โสเภณี vt. ตีด้วยไม้, ได้คะแนนตีถูกลูก, พิจารณาหรืออธิบายอย่างละเอียด vi. ตีด้วยไม้, ถึงตาตีลูก 2. ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มคำสั่งรวม หรือที่เรียกว่า batch file เช่น autoexec.bat ดู batch file ประกอบ
แฟ้มคำสั่งรวมหมายถึง แฟ้มพิเศษที่ใช้เก็บคำสั่งระบบที่ต้องการใช้ เพื่อสั่งให้เครื่องทำงานให้ ถ้ามีแฟ้มข้อมูลนี้เก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะปฏิบัติการตามขั้นตอนในคำสั่งที่บรรจุอยู่ในแฟ้มนี้ทันทีที่เริ่มเครื่องใหม่ (boot) แฟ้มข้อมูลประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file tpe) ว่า .bat เช่น autoexec.bat เป็นต้น
(บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
(บิน) 1. ถัง, ลัง { binned, binning, bins } vt. ใส่ในถังหรือลัง 2. ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มที่บรรจุข้อมูล ที่เป็นเลขฐานสอง (binary) เช่น prog.bin
แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ
(ไบ'เดอะ) n. สิ่งที่ผูกมัด, ผู้ผูก, ผู้มัด, การเย็บปก, ยาเกาะติด, เชือก, สายมัด, แผ่นปะหน้าหนังสือ, เงินมัดจำ, เครื่องเย็บเล่ม, เครื่องเข้าปก, แฟ้ม
(กราฟิกบิตแมป) หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped image
ภาพบิตแมป <คำแปล>หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped graphic
(บีเอ็มพี) ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพหรือกราฟิกที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ (pixel) เล็ก ๆ ที่เรียกว่าบิตแมป เช่น WINLOGO.BMP ดู bitmap ประกอบ
(บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot"
(เบรานชฺ) { branched, branching, branches } n. กิ่งก้าน, กิ่ง, สาขา, แขนง, วิชาย่อย, ทางแยก, สายย่อย, แคว vt. แตกกิ่งก้านสาขา, , Syn.bough แยกแตกกิ่ง1. หมายถึง การแยกตัวออกไปจากโปรแกรมที่ทำอยู่ ไปทำโปรแกรมอีกอันหนึ่ง เช่น แยกออกจากโปรแกรมหลัก main program ไปทำงานที่โปรแกรมย่อย subprogram ตามคำสั่ง Go to2. ความหมายที่ใช้กับ "ต้นไม้" tree มีความหมายถึงการแตกกิ่งก้านสาขา เช่นในการแสดงแฟ้มข้อมูลในโปรแกรม Windows Explorer ของ Windows 95
ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
(แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See Also:capturer n. ดูcapture, Syn.take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ
(ซีจีเอ็ม) abbr. ย่อมาจาก computer graphics metafile เป็นระบบการเก็บภาพของคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm
(ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ, คนไข้, ลูกค้า, คนซื้อของ, ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See Also:cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ LAN หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม file server มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ
โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ
ระบบรับ-ให้บริการหมายถึง เครือข่ายการทำงานแบบที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเป็นเครื่องบริการแฟ้ม (file server) หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้นดู file server ประกอบดู peer to peer เปรียบเทียบ
ข่ายงานแฟ้มบริการหมายถึง ข่ายงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคนสามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลร่วมกันได้ (server network) แต่ในขณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย ก็สามารถทำงานตามลำพังของตนเองโดยอิสระก็ได้ด้วย (client server)
แฟ้มภาพกฤตศิลป์หมายถึง ภาพที่ได้รับอนุญาตให้ตัดหรือคัดลอกมาใช้ได้ด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (เช่น ใช้คำสั่ง cut หรือ copy) มีการนำมาเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ ในชุดโปรแกรมสำเร็จที่ชื่อ Microsoft Office จะมี Microsoft clip gallery รวบรวมภาพไว้ให้เลือกมากมาย เพื่อให้คัดลอกไปใช้ในงานพิมพ์ได้ตามที่ต้องการ
คลิปบอร์ดกระดาษทดหมายถึง เนื้อที่ในหน่วยความจำที่กันไว้ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว มีใช้ทั้งในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช และระบบวินโดว์ของพีซี เนื้อที่ที่กันเอาไว้ส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนกระดาษทด ที่หากใช้คำสั่ง cut หรือ copy (ใต้เมนู Edit) แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะนำข้อความหรือภาพที่ถูก cut หรือ copy นั้นไปเก็บไว้ที่นั่น ข้อความหรือภาพที่อยู่ในนั้น จะอยู่ในกระดาษทดหรือคลิปบอร์ดนี้จนกว่าจะมีข้อความหรือภาพใหม่ไปทับ เราสามารถนำข้อความหรือภาพที่อยู่บนกระดาษทดนี้ไปวางหรือ paste ลงในแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมใดก็ได้ ดู copy, cut, paste ประกอบ
(โคเลท') { collated, collating, collates } vt. ตรวจเทียบ, ตรวจทาน, ตรวจปรู๊ฟ, ปรับให้เหมาะสม, ลำดับหน้า, เรียง, แต่งตั้งตำแหน่งทางศาสนาคริสต์ รวมแฟ้มเรียง1. หมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาเรียงกัน2. เป็นคำสั่งพิมพ์เมื่อต้องการพิมพ์หลายชุด (ถ้าใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์) แต่ต้องการให้พิมพ์ให้เสร็จทีละชุด (แทนที่จะพิมพ์หน้าเดียวกันให้ครบจำนวนชุดที่ต้องการ) การพิมพ์แบบ collate จะใช้เวลาในการพิมพ์มากกว่า
1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn.co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที
คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้)
(คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn.compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ
ใช้ตัวย่อว่า CGM (อ่านว่า ซีจีเอ็ม) เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้เก็บภาพแบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm
ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส
(คอน) 1. { conned, conning, cons } v. ต่อต้าน, แย้ง, เรียนรู้, ศึกษา, ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง, จำไว้, นำเรือ, ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน, การโต้เถียง, ผู้คัดค้าน, ผู้ลงบัตรคัดค้าน, นักโทษ, วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น
(คอนแคท 'ทะเนท) vt, เชื่อมเข้าด้วยกัน ต่อกันหมายถึง การเชื่อมโยงสายอักขระ (string) สองสายเข้าเป็นสายเดียวกัน เช่น เชื่อม "ABC" และ "DEF" เป็น "ABCDEF" เป็นต้น เราอาจนำมาใช้กับการนำแฟ้มข้อมูลมาต่อกันก็ได้
แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น
คัดลอกทั้งแผ่นเป็นคำสั่งในระบบวินโดว์ ที่สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในแผ่นต้นแบบ ไปลงในอีกแผ่นหนึ่งซึ่งต้องมีขนาดเท่าแผ่นต้นแบบทุกประการ การคัดลอกด้วยคำสั่งนี้ จะเลือกเฉพาะบางแฟ้มข้อมูลไม่ได้ นอกจากนั้น เมื่อคัดลอกมาแล้ว จะลบแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมทิ้งไปให้ด้วย (เฉพาะแผ่นที่เก็บข้อมูลที่คัดลอกมาเท่านั้น)
การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น