น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.
ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน
น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ.
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์).
น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ).
(พะยันชะนะ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก
ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
น. เครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ หางกันหัน, ก็เรียก.
น. เครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้ผัด หรือ หางกังหัน ก็เรียก.
น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.
ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ–ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ–ะ เป็น ลง.
(สะหฺระ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก
ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก.
(สัดทะอักสอน) น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ.
น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ (เพลงยาวถวายโอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย (นิ. วัดสิงห์)
น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, พยัญชนะ ก็เรียก.
น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
น. เครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้อง ว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส.