เวกเตอร์วิเคราะห์[TU Subject Heading]
ปริภูมิเวกเตอร์[TU Subject Heading]
ขนาดของเวกเตอร์, ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่มีทิศทางแทนเวกเตอร์นั้น โดยวัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดปลายของเวกเตอร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปริมาณเวกเตอร์, ปริมาณที่บอกทั้งขนาด และทิศทาง เช่น ความเร็ว ความเร่ง ปริมาณเวกเตอร์อาจแทนได้ด้วยส่วนของเส้นตรงที่ระบุทิศทาง โดยใช้ความยาวของส่วนของเส้นตรงแทนขนาดและใช้หัวลูกศรเพื่อบอกทิศทาง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เวกเตอร์ศูนย์, เวกเตอร์ที่มีขนาดเป็นศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เวกเตอร์ศูนย์, ดู null vector[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย, เวกเตอร์ที่มีขนาดหนึ่งหน่วยไม่ว่าเวกเตอร์นั้นจะมีทิศทางใดก็ตาม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การกระจัด, การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ เป็นปริมาณเวกเตอร์มีขนาดเท่ากับระยะในแนวตรงจากตำแหน่งเดิมถึงตำแหน่งใหม่ และมีทิศจากตำแหน่งเดิมไปยังตำแหน่งใหม่[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การดล, ผลคูณของแรงและเวลาที่แรงกระทำ การดลมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุ การดลเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศเดียวกับทิศของแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความเร็ว, ความเร็ว อัตราการกระจัดของวัตถุหรือการกระจัดของวัตถุใน 1 หน่วยเวลา ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความเร็วเฉลี่ย, อัตราส่วนระหว่างการกระจัดต่อเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ความเร็วเฉลี่ยเป็นปริมาณเวกเตอร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำหนัก, แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ น้ำหนักเป็นปริมาณเวกเตอร์ น้ำหนักของวัตถุหาได้จากผลคูณระหว่างมวลกับความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง ณ ตำแหน่งของวัตถุ น้ำหนักมีหน่วยเป็นนิวตัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โมเมนตัม, ผลคูณของมวลกับความเร็วของวัตถุ โมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศเดียวกับทิศของความเร็ว[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรง, อัตราการเปลี่ยนโมเมนตัม แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นนิวตัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความเร่งโน้มถ่วง, ความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกแบบเสรี ความเร่งโน้มถ่วงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร่งโน้มถ่วงบริเวณผิวโลกมีค่าประมาณ 9.8 เมตรต่อวินาที2 (ดู free fall ประกอบ)[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ทอร์ก, ปริมาณที่ทำให้เกิดการหมุนของวัตถุอันเนื่องมาจากแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุไม่ผ่านศูนย์กลางมวล ทอร์กเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศทางตั้งฉากกับระนาบการหมุนของวัตถุ โดยทิศทางของทอร์กจะพุ่งออกตั้งฉากกับระนาบการหมุนเมื่อวัตถุหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา และทิศทางของทอร์ก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]