การจับยึดอิเล็กตรอน, การสลายกัมมันตรังสีแบบหนึ่งของนิวไคลด์ โดยอิเล็กตรอนจากวงโคจรในสุด 1 ตัว ถูกจับยึดและรวมเข้ากับนิวเคลียส เกิดเป็นนิวไคลด์ชนิดใหม่ที่มีเลขมวลคงเดิม แต่มีเลขเชิงอะตอมลดลง 1 (ดู K-capture ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
เลขมวล, ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดกับน้ำหนักเชิงอะตอมของแต่ละไอโซโทป เช่น ยูเรเนียม-235 มีโปรตอน 92 อนุภาค และนิวตรอน 143 อนุภาค ดังนั้นเลขมวลคือ 235 <br>(ดู atomic mass และ atomic number ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ไฮโดรเจน, ธาตุที่เบาที่สุดและเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางพีริออดิก ประกอบด้วยไอโซโทป 3 ชนิด โดย 2 ชนิด พบในธรรมชาติ ได้แก่ ไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนมวลเบาซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 1 และดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 2 ส่วนชนิดที่ 3 ได้แก่ ทริเทียม มีเลขมวลเท่ากับ 3 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น[นิวเคลียร์]
ไฮโดรเจนมวลหนัก, ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่มีเลขมวลเท่ากับ 2 นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคและนิวตรอน 1 อนุภาค มีชื่อเฉพาะเรียกว่า ดิวเทอเรียม <br>(ดู deuterium, <sup>2</sup>H, D ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์]
ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้น, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีเลขมวลเท่ากับ 3 และครึ่งชีวิตเท่ากับ 12.32 ปี ทริเทียมสลายให้อนุภาคบีตาพลังงาน 18 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ใช้เป็นสารกัมมันตรังสีตามรอยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม (ดู hydrogen, H และ deuterium, $^2$H, D ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ดิวเทอเรียม, ไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน มีเลขอะตอม 1 เลขมวล 2 มีอยู่ในธรรมชาติประมาณร้อยละ 0.02 ของธาตุไฮโดรเจนทั้งหมด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนักใช้สัญลักษณ์ หรือ D[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ทริเทียม, ไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่ไม่มีในธรรมชาติแต่สร้างขึ้นได้ในห้องทดลอง มีเลขอะตอม 1 เลขมวล 3 สัญลักษณ์ 3 H 1[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โปรเทียม, ไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจนมีเลขอะตอม 1 เลขมวล 1 มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 99.98% ของธาตุไฮโดรเจนทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เลขมวล, ตัวเลขแสดงผลบวก ของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สัญลักษณ์นิวเคลียร์, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุ ซึ่งเขียนเลขอะตอมไว้ที่มุมล่างซ้ายของสัญลักษณ์ และเลขมวลไว้มุมบนซ้ายของสัญลักษณ์ เช่น เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไอโซโทป, ธาตุหนึ่งในกลุ่มของธาตุเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวลต่างกัน เช่น ดิวเทอเรียมเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]