น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorusวงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม ( C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว ( C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว.
น. ชื่อมดชนิด Solenopsis geminata (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง หัวค่อนข้างโต ทำรังอยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะดินร่วนหรือดินทราย รังอาจอยู่ลึกลงไปใต้ดินถึง ๐.๕ เมตร มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน และเป็นตุ่มแดงใหญ่.
น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) .
น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก.
น. ชื่องูนํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Acrochordus javanicus Hornstedt ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่นุ่มนิ่มคล้ายงวงช้าง ผิวหนังหยาบ เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ หางเรียวเล็ก อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มักขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ.
(-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
น. ชื่อพยาธิตัวกลมชนิด Gnathostoma spinigerum Owen ในวงศ์ Gnathostomatidae ลำตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึงคนได้ เมื่อกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อนเมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ อาจเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามผิวหนัง ทำให้บวมและปวด, หนอนด้น ก็เรียก.
น. ภาชนะสำหรับขังหรือใส่นํ้า ก้นสอบ ปากแคบกว่าโอ่ง, คำเปรียบผู้หญิงที่อ้วนมาก ว่า อ้วนเป็นตุ่ม.
น. เม็ดที่ขึ้นตามผิวหนัง, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ดอกไม้ออกเป็นตุ่ม.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทำยาได้.
น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคซิฟิลิส จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อนแล้วแตกเป็นแผล ลักษณะก้นแผลเรียบ ขอบนูนแข็ง แผลมักสะอาด ไม่รู้สึกเจ็บ.
น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และบางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.
น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว.
น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.
น. ชื่อปูทะเลหลายชนิดในสกุล Portunusวงศ์ Portunidae ผิวกระดองมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สาก กระดองตัวผู้สีฟ้าหรือนํ้าเงิน ของตัวเมียสีค่อนไปทางนํ้าตาล เช่น ชนิด P. pelagicus (Linn.).
ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็นก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด
น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลายข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทำให้เกิดไฟขึ้น.
โรคติดต่อเรื้อรัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Mycobacterium leprae ทำให้เกิดอาการที่ผิวหนังเป็นผื่น วงด่างสีขาวหรือแดง หรือนูนหนาเป็นตุ่มหรือเป็นแผ่น ไม่เจ็บไม่คัน แห้ง เหงื่อไม่ออก และขนร่วง อาจทำให้เกิดความพิการที่นิ้วมือนิ้วเท้างอหรือกุดได้, ขี้ทูด หรือ กุฏฐัง ก็เรียก.
น. สิวที่เป็นตุ่มใหญ่ มีสีแดง เพราะอักเสบค่อนข้างรุนแรงจากเชื้อแบคทีเรีย อาจมีหนองและปวด มักขึ้นบริเวณแก้มและจมูก.
น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.