21 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*เบลเยี่ยม*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: เบลเยี่ยม, -เบลเยี่ยม-
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)BelgiumSyn.ประเทศเบลเยี่ยมExample:ี่พรรคนิเวศวิทยาในเบลเยี่ยมและเยอรมันประสบความสำเร็จมากที่สุดThai Definition:ชื่อประเทศในยุโรปอยู่เหนือฝรั่งเศสNotes:(อังกฤษ)
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 "[การทูต]
เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว[การทูต]
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย[การทูต]
องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นองค์การร่วมมือทางการทหาร มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศคือ เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[การทูต]
คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน[การทูต]
องค์การความร่วมมือทางด้านการทหารของประเทศในทวีปยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส กรีซ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501[การทูต]
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[Belyīem = Beoyīem] (n, prop) EN: Belgium  FR: Belgique [ f ]
[Chāo Belyīem] (n, prop) EN: Belgian  FR: Belge [ m, f ] ; ressortissant belge [ m ] ; citoyen belge [ m ]
[Prathēt Belyīem] (n, prop) EN: Belgium  FR: Belgique [ f ]
[Rātcha-ānājak Belyīem = Rātcha-ānājak Beoyīem] (n, prop) FR: Royaume de Belgique [ m ]
[Saphān Thai Belyīem] (n, prop) EN: Thai-Belgium Bridge
Hope Dictionary
(เบล'เจียน) n. ชาวเบลเยี่ยม adj. เกี่ยวกับเบลเยี่ยม
(เบล'เจียม) n. ประเทศเบลเยี่ยม
(บรัส'เซิลซ) n. ชื่อเมืองหลวงของเบลเยี่ยม
(เฟลม'มิง) n., adj. เบลเยี่ยมที่พูดภาษาFlemish
(เฟลม'มิช) n..adj. ชาวFlanders, ชื่อภาษาราชการภาษาหนึ่งของเบลเยี่ยม
(โกร'นันดาล) n. สุนัขเบลเยี่ยมพันธุ์หนึ่งมีขนยาว สีดำ เป็นสุนัขคุมแกะ
(ลัค' ซัมเบิร์ก) n. ชื่อประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ระหว่างเยอรมันนีฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม, ชื่อเมืองหลวงของประเทศดังกล่าว
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ