แปลศัพท์
PopThai
dropdown
US
49 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*เนเธอร์แลนด์*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: เนเธอร์แลนด์, -เนเธอร์แลนด์-
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)NetherlandsSyn.เนเธอร์แลนด์, ฮอลล์แลนด์Example:ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น.
น. ชื่อหนึ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์.
น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศฮอลแลนด์หรือเนเธอร์แลนด์, วิลันดา หรือ ดัตช์ ก็เรียก.
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 "[การทูต]
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย[การทูต]
รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง[การทูต]
บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations)[การทูต]
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์[การทูต]
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น[การทูต]
องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นองค์การร่วมมือทางการทหาร มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศคือ เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[การทูต]
แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา[การทูต]
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการอุดมศึกษา แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์กรผู้บริหารการจัดการแผนการดำเนินงานด้านทุน ของเนเธอร์แลนด์ (NFP)[การทูต]
คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[การทูต]
กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน[การทูต]
การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย[การทูต]
องค์การความร่วมมือทางด้านการทหารของประเทศในทวีปยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส กรีซ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501[การทูต]
เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474[พลังงาน]
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์The Bourne Supremacy (2004)
นี่คือรายงานการศึกษาจากเนเธอร์แลนด์An Inconvenient Truth (2006)
เนเธอร์แลนด์ หนึ่งในประเทศพื้นที่ต่ำAn Inconvenient Truth (2006)
ไปเนเธอร์แลนด์ค่ะFrontier(s) (2007)
หรือกลูด้า (เนยกลมแบนในประเทศเนเธอร์แลนด์)Chuck Versus the Lethal Weapon (2009)
พระองค์คือลงโทษในเนเธอร์แลนด์โดยวาติกัน ทันทีหลังจาก Galilei ตาย.Angels & Demons (2009)
พระองค์คือลงโทษในเนเธอร์แลนด์โดยวาติกัน ทันทีหลังจาก Galilei ตาย.Angels & Demons (2009)
ใบขับขี่ชาวเนเธอร์แลนด์What Lies Below (2010)
เนเธอร์แลนด์Skyline (2010)
เป็นต้นกำเนิด จากเนเธอร์แลนด์Dog Eat Dog (2011)
หนีออกจากห้องพักในโรงแรม ที่เนเธอร์แลนด์ ระหว่างการแข่งขันระดับนานาชาติC.O.D. (2012)
เนเธอร์แลนด์ได้ปรับปรุงโบสถ์ใหม่The Lesser Key of Solomon (2013)
อย่าได้เข้าไปในนั้นเชียว อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์Popstar: Never Stop Never Stopping (2016)
เราเชื่อว่าเขามาจากเนเธอร์แลนด์What Lies Below (2010)
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[Nēthoēlaēn] (n, prop) EN: Netherlands  FR: Pays-Bas [ mpl ] ; Hollande [ f ]
[Prathēt Nēthoēlaēn] (n, prop) EN: Netherlands  FR: Pays-Bas [ mpl ] ; Hollande [ f ]
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
(adj)เกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์
(n)ชาวเนเธอร์แลนด์See Also:ภาษาเนเธอร์แลนด์
(n)เนยกลมแบนในประเทศเนเธอร์แลนด์
(n)หน่วยเงินตราของประเทศเนเธอร์แลนด์
(n)ที่ลุ่ม (โดยเฉพาะในเนเธอร์แลนด์)See Also:ที่น้ำท่วมถึง
Hope Dictionary
(โบ'เออ, บัวร์) n. ชาวโบเออร์ในแอฟริกาใต้ สืบเชื้อสายมาจากชาวเนเธอร์แลนด์)
(ดัทชฺ) adj. เกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) , เยอรมัน (สแลง) , -Phr. (go Dutch ให้ต่างคนต่างออกค่าใช้จ่าย) n. ชาวเนเธอร์แลนด์,
(กิล'เดอะ) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์มีค่าเท่ากับ100 เซนต์
(กิล'เดอะ) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์มีค่าเท่ากับ100 เซนต์
(กุล'เดิน) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์
(เนธ'เธอเลินดฺซ) n. ประเทศเนเธอร์แลนด์Syn.Holland
(ไรน์) n. ชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่านสวิตเซอร์แลนด์/เยอรมนีตะวันตกและเนเธอร์แลนด์ และลงสู่ทะเลเหนือSyn.Rhein, Rhin, Rijn
Nontri Dictionary
(adj)เกี่ยวกับชาติฮอลันดา, เกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์
(n)ชาวฮอลันดา, ชาวเนเธอร์แลนด์, ชาวดัช, ภาษาดัช
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ