(-ดียะ-) น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ.
น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ประธาน มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล.
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Turritellidae เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ มักเป็นสีน้ำตาล เช่น ชนิด Turritella terebra (Linn.).
น. คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก, เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน.
(ทาตุ-, ทาด-) น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
(บอริโพกคะ-) น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า.
น. เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์.
น. เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป.
(กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
น. กำแพงเตี้ย ๆ ที่ทำล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ เป็นต้น เพื่อให้ดูงาม.
อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
(เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.
น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.
น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์.
ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า.
ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า.
น. ระยะความสูงที่นกเขาบินขึ้นไปถึงได้ เช่น พระปฐมเจดีย์สูงชั่วนกเขาเหิน.
น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป.
ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน เจดีย์ยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร.
น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์, ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกรวยกลม มีฐานล่างเป็นฐานเขียงหรือฐานบัวเชิงบาตร กับมีฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉนและปลี.
น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง จัดเป็นอุเทสิกเจดีย์.
น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
(ทาดสะถูบ) น. ธาตุเจดีย์.
น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก.
(บะรา-) น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระเจดีย์ทราย ใช้เสียบเรียงรายไปตามสันหลังคา หรือเสียบบนสันหลังคาบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
ส่วนของสถูปเจดีย์แบบลังกา มีรูปเป็นแท่นอยู่เหนือองค์ระฆัง.
น. ลายปูนปั้นหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์บางแบบหรือปลายเครื่องบนของปราสาท.
น. บัวควํ่าที่ลาดเอียงมากกว่าปรกติ เป็นส่วนประกอบของฐานสถูปและเจดีย์บางแบบ.
(ปฺราง) น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพดและมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.
น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป.
ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉนหรือบัวกลุ่มขึ้นไป.
(ปูชะนียะสะถาน) น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.
เรียกส่วนพระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี.
น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า สังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์.
เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง.
น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก.
น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง
น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน
ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว.
น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า.
ว. ที่แยกเป็นลำดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.