A: Drive A ไดรฟ์เอ หมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก)
ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ
หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้
(ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes)
หน่วยบันทึกซีหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกแข็งที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะมีหน่วยบันทึกอย่างน้อยสองหน่วย คือ หน่วยบันทึกA: และหน่วยบันทึก C: หน่วยบันทึก C: มักนิยมใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ซึ่งจะมีความจุมากกว่าหน่วยบันทึก A: มาก จึงมักใช้ C: เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ตั้งแต่โปรแกรมระบบจนถึงโปรแกรมสำเร็จ (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังตัว C เสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก)
1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM
การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์
นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ
(ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn.disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น
การแบ่งส่วนของจานบันทึกหมายถึง การแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป โดยอาจกำหนดให้ส่วนหนึ่งใช้ระบบดอส และวินโดว์ และอีกส่วนหนึ่งใช้ระบบ โอเอส/ทู
A:ไดรฟ์เอหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก)
(อีเอสดีไอ) ย่อมาจากคำว่า enhanced small device interface ใช้เป็นมาตรฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นตัวประสานที่ใช้กับจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
สารบบแฟ้มหมายถึง รายชื่อแฟ้มข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์
เครื่องบริการแฟ้มในระบบเครือข่าย (network) โดยปกติจะมีคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องบริการแฟ้ม ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บ ทั้งโปรแกรม และแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกันไว้ในฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถเรียกใช้ โปรแกรมและแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นพร้อมกันได้ โดยเรียกจาก เครื่องบริการแฟ้มดังกล่าว เครื่องบริการแฟ้ม นี้จะทำหน้าที่ ดูแลการใช้แฟ้มข้อมูล และการส่งข้อมูลไปให้ตามที่มีผู้ต้องการเรียกมา
จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ
โปรแกรมเพิ่ม/ลดแบบอักษรเป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรม หนึ่ง มีเฉพาะในเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ใช้เมื่อ ต้องการ นำแบบอักษรต่าง ๆ เข้าไปเก็บในฮาร์ดดิสก์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเมื่อต้องการคัดลอกลงไปเก็บ ในจานบันทึก
การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้
(จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ
(กิกะไบต์) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ
(ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไอบีเอ็ม เอ็กซ์ทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาหลังจากที่ผลิตพีซีแล้วเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อยู่ในตัวเครื่องเลย (ไม่แยกออกต่างหากจากตัวเครื่องแบบแต่ก่อน) คำว่า XT ย่อมาจาก extended technology ซึ่งก็แปลว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งนั่งเอง บริษัทไอบีเอ็มผลิต XT หลังจาก PC แล้วต่อไปก็ผลิต AT ดู IBM AT ประกอบ
(ไอดีอี) ย่อมาจาก integrated drive electronics ซึ่งก็คือตัวประสานอีกตัวหนึ่งที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีมีหลายรูปแบบ เช่น SCSI, ESDI และ ST 506
บัสเฉพาะที่เป็นช่องว่างที่จะใช้เสียบแผ่นวงจร แผ่นวงจรที่เสียบนี้จะต่อตรงไปยังตัวประมวลผลโดยตรง ทำให้ทำงานได้รวดเร็วกว่าแผ่นวงจรอื่น ๆ เช่น แผ่นวงจรวีดิทัศน์ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
หน่วยบันทึกตรรกะหมายถึง การแบ่งจานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อสะดวกในการใช้สอยจานนั้นให้คุ้มค่า เช่น แบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็น 2 ส่วน ชื่อ C: และ D: ทั้ง ๆ ที่มีเพียงจานเดียว การแบ่งเช่นนี้อาจแบ่งเพื่อใช้เก็บแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการให้ใครทราบก็ได้
(พาร์ทิช'เชิน) n. การแบกแยก vt. แบ่ง, แยก, ส่วนเก็บระบบปฏิบัติการหมายถึง ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่กันเอาไว้เพื่อใช้เก็บระบบปฏิบัติการ (operating system) โดยเฉพาะ
(พีซีเอ็มซีไอเอ) ย่อมาจาก Personal Computer Memory Card International Association (สมาคมระหว่างประเทศเพื่อบัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน
Personal Computer Memory Card International Association สมาคมระหว่างประเทศเพื่อ บัตรความจำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ตัวย่อว่า PCMCIA (อ่านว่า พีซีเอ็มซีไอเอ) แต่เดิมหมายถึงแผ่นวงจรที่ใช้บันทึกข้อมูล มีลักษณะเหมือนการ์ด ขนาดเท่าบัตรเครดิต (ยาว 8.5 ซม. กว้าง 5.4 ซม.) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้นำมาใช้สอยได้มากขึ้น เช่น ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ก็ได้ เป็นการ์ดเพิ่มหน่วยความจำก็ได้ เป็นการ์ดแฟกซ์ หรือโมเด็มก็ได้ โครงสร้างของการ์ดนี้เป็นชิป (chip) ใช้เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ บางด้าน
จานแข็งนำเข้าออกได้หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ หรือจานบันทึกแข็ง ที่สามารถใส่เข้าหรือดึงออกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยปกติ จานแข็งนี้มีสองชนิด คือชนิดที่จะดึงออกจากคอมพิวเตอร์ได้ กับชนิดที่ดึงไม่ได้ (ที่ใช้กันอยู่ส่วนมากจะเป็นชนิดหลังหรือที่เรียกว่า fixed disk คือดึงออกไปไม่ได้)
เอสซีเอสไอ <คำอ่าน>สกัสซี <คำอ่าน>ย่อมาจากคำว่า small computer system interface (แปลว่า ส่วนต่อประสานระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก) หมายถึงสายที่เชื่อมต่อระหว่างบริภัณฑ์รอบข้าง (peripherals) เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เครื่องจับภาพ (scanner) หน่วยบันทึก (disk drive) กับ ตัวซีพียู (CPU)
ส่วนต่อประสานระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก'ใช้ตัวย่อว่า SCSI (อ่านว่า สกัสซี) หมายถึงสายที่เชื่อมต่อระหว่างบริภัณฑ์รอบข้าง (peripheral equipment) เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เครื่องกราดภาพ (scanner) หน่วยบันทึก (disk drive) กับตัวซีพียู (CPU) เป็นต้น
ความจุของหน่วยเก็บข้อมูลหมายถึง จำนวนข้อมูลที่หน่วยเก็บ เช่น จานบันทึก ฮาร์ดดิสก์ แถบแม่เหล็ก สามารถรับข้อมูลไปเก็บไว้ได้ โดยปกติจะวัดกันเป็น เคไบต์ (K bytes)
(สทรีม'เมอะ) n. 1. สิ่งที่ไหล, สิ่งที่ปลิวเป็นทาง, ธง, ชายธง, สายที่สะบัดพริ้ว, ลำแสง, การพาดหัวข่าวเต็มหน้า, 2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลจากฮารด์ดดิสก์ลงในตลับแถบบันทึก (casette tape) ซึ่งทำได้เร็วมาก และวางใจได้ว่าข้อมูลไม่ศูนย์หาย มีหลายชนิด ตั้งแต่ 20-50 เมกะไบต์ ราคาถูกกว่าฮาร์ดดิสก์, Syn.long
จานบันทึกระบบหมายถึง จานบันทึกที่บรรจุระบบปฏิบัติการ (ถ้าเป็นพีซี ก็หมายถึง MS DOS) สามารถนำมาใช้เริ่มเครื่องใหม่ได้ (boot) โดยใส่ในหน่วยบันทึก A : จานบันทึกระบบต้องมีโปรแกรม 3 โปรแกรม เป็นอย่างน้อย คือ lo.sys, Msdos.sys และ Command.com สองแฟ้มแรกจะถูกซ่อนอยู่ (hidden files) แม้ว่าจะใช้คำสั่ง Dir ก็จะไม่แสดงบนจอภาพโปรแกรม lo.Sys จะดูแลในเรื่องการนำข้อมูลเข้า และการแสดงผล ส่วน MSDOS.sys จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นจานบันทุกนั้น ส่วน Command.com ก็จะมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น dir, copy, delete จานบันทึกระบบนี้มีความสำคัญมาก (โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์) ถ้าไม่มีจานบันทึกนี้จะเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ อาจใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นจานบันทึกระบบเลยก็ได้
จานบันทึกวินเชสเตอร์หมายถึง จานบันทึกแบบหนึ่ง ที่บริษัทไอบีเอ็มสร้างขึ้นใช้เป็นครั้งแรก สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 30 เมกะไบต์ (30 ล้านตัวอักษร) ในแต่ละด้าน คล้ายฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ไม่สามารถถอดเข้าออกได้ คำ Winchester นั้นอันที่จริงเป็นชื่อถนน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยของบริษัทที่ผลิตจานบันทึกชนิดนี้