แปลศัพท์
PopThai
dropdown
US
ads-m
38 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*อนุญาโตตุลาการ*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: อนุญาโตตุลาการ, -อนุญาโตตุลาการ-
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)arbitratorSee Also:umpireExample:เธอจะเสนอเรื่องให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดThai Definition:บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้ชี้ขาดNotes:(กฎหมาย)
(n)arbitratorExample:เขาเป็นอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งของข้อพิพาทนี้Thai Definition:บุคคลที่คู่กรณีตกลงกันตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นคนกลางชี้ขาดในข้อพิพาท
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท.
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
อนุญาโตตุลาการ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
๑. คำตัดสินชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ๒. รางวัลเกียรติคุณ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
การอนุญาโตตุลาการ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
การใช้อนุญาโตตุลาการ[ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
การอนุญาโตตุลาการ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
ข้อกำหนดการใช้อนุญาโตตุลาการ[ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
การอนุญาโตตุลาการโดยบังคับ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
อนุญาโตตุลาการ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
คล้ายอนุญาโตตุลาการ[นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
การอนุญาโตตุลาการโดยบังคับ[รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
อนุญาโตตุลาการExample:การระงับข้อพิพาททางเลือก (alternative dispute resolution) วิธีหนึ่ง โดยการที่คู่กรณีตกลงเสนอข้อพิพาทให้บุคคลหรือคณะบุคคลที่เรียกว่า “อนุญาโตตุลาการ” ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทนั้น และคู่กรณีตกลงที่จะเห็นด้วยตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ สำนักงานได้จัดให้มีกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนโยบายของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่เห็นสมควรให้มีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ลงทุนซึ่งเป็นลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากมีผู้ลงทุนได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งการที่ผู้ลงทุนจะได้รับการชดเชยความเสียหายดังกล่าวอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากจนไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับ หรืออาจต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทั่วไป จึงได้เพิ่มช่องทางให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ประกอบการผ่านวิธีอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยกำหนดกระบวนการระงับข้อพิพาทเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก คือ กระบวนการรับข้อร้องเรียนภายในของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ประกอบการดังกล่าว ผู้ลงทุนต้องดำเนินการร้องเรียนตามกระบวนการรับข้อร้องเรียนภายในของผู้ประกอบการก่อน ขั้นตอนที่สอง คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน โดยในกรณีที่ไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ในขั้นตอนแรก เช่น ลูกค้าและผู้ประกอบการไม่สามารถตกลงกันได้ หรือผู้ประกอบการไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น คู่กรณีสามารถเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยผ่านการตกลงด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายหากเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเข้ามาโดยผลของกฎหมายผ่านการแสดงความประสงค์เป็นหนังสือของลูกค้าไปยังผู้ประกอบการหากเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ผู้ร้องสามารถเลือกที่จะให้สำนักงานเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ หากคู่กรณียังไม่สามารถตกลงกันได้จึงจะเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการต่อไป [ตลาดทุน]
อนุญาโตตุลาการการค้า[TU Subject Heading]
อนุญาโตตุลาการและการตัดสิน[TU Subject Heading]
อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศและการตัดสิน[TU Subject Heading]
อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ[TU Subject Heading]
อนุญาโตตุลาการ[TU Subject Heading]
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและใช้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (ค.ศ. 1958)[TU Subject Heading]
คำตัดสินอนุญาโตตุลาการ (ใช้ในแง่การระงับกรณีพิพาท)[การทูต]
การอนุญาโตตุลาการ[การทูต]
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ[การทูต]
การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการของการส่งเรื่องกรณีพิพาทไปให้คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริง แล้วเสนอรายงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะในอันที่จะระงับกรณีพิพาทนั้น อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนี้ไม่มีผลบังคับแก่คู่พิพาทแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับคำวินิจฉัยในการตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration)[การทูต]
หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น?[การทูต]
การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย[การทูต]
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[anuyātōtulākān] (n) EN: arbitrator ; umpire  FR: arbitre [ m ]
[khamchīkhāt khøng anuyātōtulākān] (n, exp) EN: arbitration award
[kotmāi anuyātōtulākān] (n, exp) EN: arbitrator
Longdo Approved EN-TH
(n)อนุญาโตตุลาการ
Hope Dictionary
(อาร์'บิเทอะ) n. ผู้ตัดสิน, ตุลาการ, คนชี้ขาด, ผู้กำชะตาชีวิต, อนุญาโตตุลาการ (judge)
(อาร์'บิทราซฺ) n. การค้ากำไร, การตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ
(อาร์บิท'ระเมินทฺ) n. การตัดสิน, การตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ
(อาร์'บิเทรท) vt., vi. ตัดสิน (โดยอนุญาโตตุลาการ) , เสนอให้ตัดสินโดยมีผู้ชี้ขาด (อนุญาโตตุลาการ) . -arbitrable adj., -arbitrator n. (judge, mediate, intercede)
(อาร์บิเทร'เชิน) n. การตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ, การชี้ขาด, การตัดสิน.
Longdo Unapproved EN-TH**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
(n)คำตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (ศัพท์กฎหมาย)
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ