น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สำหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zea mays L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นสูงคล้ายอ้อยหรือข้าวฟ่าง เมล็ดเรียงชิดกันแน่นรอบซังเป็นฝักกลม ๆ ยาว ๆ มีกาบหุ้มหลายชั้น.
(-กนละนี) น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง).
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Turritellidae เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ มักเป็นสีน้ำตาล เช่น ชนิด Turritella terebra (Linn.).
ก. ทับกันหลายชั้น เช่น ของกองซ้อนซับสูงขนาดนี้ รื้อไม่ไหวหรอก.
ก. ปะปนทับกันอยู่หลายชั้น เช่น เอกสารกองซับซ้อนอยู่บนโต๊ะ, ยุ่งยากสับสนสะสางยาก เช่น คดีซับซ้อน.
น. เรียกแหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้ ว่า แหวนเนื่อง, เรียกลายที่ประดับขอบถ้วยเป็นต้นด้วยอัญมณีเม็ดเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ว่า ลายเนื่อง, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลายชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี.
(พฺรวด) น. ชื่อผึ้งโพรง ( Apis cerana Fabricius) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูง ทำรังซ้อนกันหลายชั้นเรียงขนานกันอยู่ในโพรงไม้ กระบอกไม้ ซอกหิน หรือซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรัง ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร นำมาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับผึ้งพันธุ์, พายัพและอีสานเรียก ผึ้งโก๋น, ผึ้งรวง ก็เรียก.
(มนดบ) น. เรือนเครื่องยอดขนาดใหญ่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาเป็นทรงจอมแห ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอนหลายชั้นเป็นต้น, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.)
น. อุปกรณ์สำหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทำด้วยผ้าซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับแกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
(-จิดพิดสะหฺวง) ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลายชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
น. ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด.
(-จิด) ว. หลายสี, หลายชั้นหลายเชิง
น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก.