ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
(จาน) ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ) (จารึกสมัยสุโขทัย).
น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้น ว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมายที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
(ชะเลียง) น. ชื่อเครื่องดินเผาที่ทำมาจากเมืองเชลียง ซึ่งอยู่ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย.
(ตฺระ-) น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, เช่น กลางเมืองสุโขทัยนี้มีน้ำตระพังโพยสี (จารึกหลักที่ ๑), ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า.
น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล).
น. ชื่อเตาโบราณชนิดหนึ่ง สำหรับเผาเครื่องถ้วยชามและเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัย, (ทุเรียง อาจเพี้ยนมาจากชื่อเมืองเชลียง).
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ ปี, คำกำกับชื่อวันแบบโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ วัน, เขียนเป็น เต้า ก็มี.
น. ตำแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี.
น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย.
น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย (จารึกสยาม)
น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ ตำบลเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
น. ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น สุมม่วง คือ ป่าม่วง (จารึกสุโขทัย).
น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น (จารึกสยาม).
น. การเกิดขึ้น เช่น สุโขทัย = การเกิดขึ้นแห่งความสุข, การตั้งขึ้น เช่น อรุโณทัย = การตั้งขึ้นแห่งอรุณ.
ก. อวย, ให้, เช่น คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน (จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒).