ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[เทคโนโลยีการศึกษา]
การจัดทำข้อมูลรายการในสิ่งพิมพ์ , การจัดทำข้อมูลรายการในสิ่งพิมพ์, Example:Cataloging in Publication หรือ CIP คือ การจัดทำรายการข้อมูลในสิ่งพิมพ์ เป็นโครงการหนึ่งของหอสมุดรัฐสภาอเมริกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการรายการบรรณานุกรม โครงการนี้ เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 1971 เพื่อกระจายข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันและหน่วยงานที่ร่วมโครงการ ข้อมูลที่นำมาสร้างข้อมูลรายการสิ่งพิมพ์นี้ ได้มาจากสำนักพิมพ์ผู้ร่วมโครงการ มีข้อมูลมากพอที่ให้บรรณารักษ์ใช้ในการทำบัตรรายการหรือรายการหลักได้ หรือใช้เป็นตัวช่วยในการลงรายการ โดยมีการดัดแปลงหรือแก้ไขให้ตรงกับนโยบายในการลงรายการ หรือให้มีความเหมาะสมกับการให้บริการของห้องสมุดมากขึ้น ทำให้ลดเวลาในการวิเคราะห์หนังสือได้มาก สามารถส่งหนังสือออกให้บริการได้เร็วขึ้น <p> <p> การจัดทำ Cataloging ของหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน มีความสมบูรณ์ในกระบวนการจัดทำรายการบรรณานุกรมของหนังสือ กล่าวคือ สำนักพิมพ์จะต้องส่งแบบฟอร์มการลงรายการบรรณานุกรม (CIP Data Application form) พร้อมเอกสารฉบับเต็มมายังหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน ซี่งเจ้าหน้าที่ของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศกำหนดการลงรายการบรรณานุกรม พร้อมส่งกลับไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อจัดพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมดังกล่าวลงในหน้าหลังหน้าปกใน (Verso) ซึ่งรูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ ก็จะถูกส่งออกไปยังห้องสมุด และร้านค้าหนังสือทั่วโลก แต่กระบวนการกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์จนกว่าสำนักพิมพ์จะส่งหนังสือกลับมายังงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเติมข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น จำนวนหน้า ขนาดและตรวจสอบความถูกต้องจากการพิมพ์ของสำนักพิมพ์อีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบ รูปแบบรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้จะถูกเผยแพร่อีกครั้ง จากกระบวนการดังกล่าวนี้เอง ทำให้หอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกัน สามารถจัดเก็บหนังสือทุกเล่มที่ผลิตในประเทศ และเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อย่างครบถ้วน <p> <p> หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยกรอบของวิธีการ ๒ แนวทาง กล่าวคือ กฎหมายการพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับหอสมุดแห่งชาติในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ของประเทศ และการแบ่งปันรายการบรรณานุกรมระหว่างห้องสมุดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย ก็คือ การกำหนดข้อมูลบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการที่ไม่ต่างจากหอสมุดแห่งชาติรัฐสภาอเมริกันเท่าใดนัก นับตั้งแต่สำนักพิมพ์ส่งงานที่จะพิมพ์พร้อมเลข ISBN ที่ได้รับมาจากตัวแทนออกเลข ISBN จนถึงส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติออสเตรเลียจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ CIP คือ การส่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเข้าหอสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย <p> <p> ส่วนหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่จัดพิมพ์หนังสือใหม่ ซึ่งต้องการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ (Cataloguing-in-Publication - CIP) รวมถึงห้องสมุดที่ต้องการข้อมูลหนังสือใหม่เพื่อแจ้งไปยังผู้ใช้บริการในรูปแบบของ Alert services จะต้องติดต่อขอรับบริการข้อมูล CIP ที่ Bibliographic Data Services Limited - BDSL ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ CIP ซึ่งมีมาตรฐานตามที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษกำหนด ด้วยการติดต่อตรงไปยัง BDSL หรือติดต่อผ่านไปที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ทั้งนี้ข้อมูล CIP ที่ได้อาจใช้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม จนกว่าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษจะได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์ จึงจะมีการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศอีกครั้งเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่ถาวรต่อไป <p> <p> ในประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ รับบริการจัดทำข้อมูลทางบรรณานุกรมให้กับสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานที่ขอใช้บริการเช่นเดียวกับการให้บริการหมายเลข ISBN <p> <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110314-CIP.jpg" width="640" height="200" alt="CIP"> ภาพตัวอย่าง CIP หนังสือภาษาต่างประเทศ <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110315-cip.jpg" width="640" height="200" alt="CIP2"> ภาพตัวอย่าง CIP หนังสือภาษาไทย <p>รายการบรรณานุกรม <p>United States Copyright Office. [ ออนไลน์ ] http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Copyright_Office. Accessed: 20100628 : 00.07. <p> <p>Haddad, Peter. 1999. National bibliography in Australia: moving into the next millennium. [ ออนไลน์ ] http://archive.ifla.org/IV/ifla65/papers/016-123e.htm. Accessed: 20100629 : 09.50. <p> <p>National Library of Australia. Cataloguing-in-publication user guide. [ ออนไลน์ ] http://www.nla.gov.au/services/user-guide.html. Accessed: 20100629 : 09.55. <p> <p>Bibliographic Data Services Limited. [ ออนไลน์ ]. http://www.bibliographicdata.co.uk. Accessed: 20100629 : 17.30. <p> <p>Nielsen UK ISBN Agency. [ ออนไลน์ ] http://www.isbn.nielsenbook.co.uk/controller.php?page=121. Accessed: 20100629 : 14.25. <p> <p>The British National Bibliography. [ ออนไลน์ ] http://www.bl.uk/bibliographic/natbib.html. Accessed: 20100629 : 13:00.[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สิ่งพิมพ์รัฐบาล[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
แค็ตตาล็อก, บัญชีรายชื่อ หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ที่มีภาพสินค้าเช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้าเลือกซื้อ[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สิ่งพิมพ์ในลักษณะวารสาร มีกำหนดออกไม่สม่ำเสมอ, Example:<p>สิ่งพิมพ์ในลักษณะวารสารที่มีกำหนดออกเผยแพร่ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือรายสะดวก หรือ มีกำหนดออกไม่แน่นอน <p>โดยปกติวารสารแต่ละชื่อ มีกำหนดการออกทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน คือ <p>รายสัปดาห์ (Weekly) คือ 7 วัน : ครั้ง <p>รายปักษ์ (Bi-weekly) คือ 15 วัน : ครั้ง หรือ ครึ่งเดือน : ครั้ง <p>รายเดือน (Monthly) คือ 1 เดือน : ครั้ง <p>รายสองเดือน (Bi-monthly) คือ 2 เดือน : ครั้ง <p>รายสามเดือน (Quarterly) คือ 3 เดือน : ครั้ง หรือ ปีละ 4 ฉบับ <p>รายหกเดือน (Two times a year ) คือ 6 เดือน : ครั้ง หรือ ปีละ 2 ฉบับ <p>รายไม่สม่ำเสมอ หรือรายสะดวก กล่าวคือ มีกำหนดออกไม่แน่นอน (Irregular) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สิ่งพิมพ์[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ที่มีพิมพ์เผยแพร่นานแล้ว[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง, Example:<p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110602-serial-publications.jpg" Title="Serial publication" alt="Serial publication"> <br>ภาพที่ 1 ตัวอย่างหน้าปกสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง <p>คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดการออกอย่างต่อเนื่อง ภายในชื่อเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่มักมีหมายเลขแสดงลำดับที่การออกในแต่ละช่วงปีที่ดำเนินการจัดพิมพ์และเผยแพร่ เช่น วารสาร Nature Medicine ซึ่งมีกำหนดออกรายเดือน ฉบับประจำเดือน พ.ค. 2554 คือ May 2011, Volume 17 No 5 pp515-632 <p>ตัวอย่างกำหนการออก <p>รายสัปดาห์ (Weekly) คือ 7 วัน : ครั้ง <p>รายปักษ์ (Bi-weekly) คือ 15 วัน : ครั้ง หรือ ครึ่งเดือน : ครั้ง <p>รายเดือน (Monthly) คือ 1 เดือน : ครั้ง <p>รายสองเดือน (Bi-monthly) คือ 2 เดือน : ครั้ง <p>รายสามเดือน (Quarterly) คือ 3 เดือน : ครั้ง หรือ ปีละ 4 ฉบับ <p>รายสี่เดือน (Quarterly) คือ 4 เดือน : ครั้ง หรือ ปีละ 3 ฉบับ <p>รายหกเดือน (Two times a year) คือ 6 เดือน : ครั้ง หรือ ปีละ 2 ฉบับ <p>รายปี (Annually) คือ 1 ปี : ครั้ง เช่น รายงานประจำปี <p>สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องนี้รวมถึง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์รายปี เช่น รายงานประชุมปี รายงานการสำรวจ สถิติ เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
ตัวแทนบอกรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง, Example:<p>การจัดซื้อ จัดหา บอกรับ ผ่านตัวแทนบอกรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องหรือวารสาร เป็น ประเภทหนึ่งของวิธีการจัดหาวารสารโดยส่วนใหญ่การจัดหาวารสาร มี 2 วิธีหลัก คือ การจัดหาโดยตรงจากผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์ และ การจัดหาผ่านตัวแทน (Subscription agent) <p>การจัดหาโดยตรงจากผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์ มีข้อดี คือ ประหยัดเงินงบประมาณ เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าบริการ (Service charge) ให้กับบริษัทตัวแทนจำหน่าย ข้อเสีย คือ ต้องสำรองจ่ายเงินสำหรับค่าวารสารที่จะบอกรับล่วงหน้า กรณีบอกรับวารสารหลายสำนักพิมพ์ ต้องยุ่งยากในการดำเนินการเรื่องเอกสาร การติดต่อประสานงาน และเสียเงินค่าธรรมเนียมในการบอกรับแต่ละรายสำนักพิมพ์ <p>การจัดหาผ่านตัวแทน (Subscription agent, Dealers , Vendors) หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างห้องสมุดและสำนักพิมพ์ มีความรับผิดชอบในกระบวนการจัดหาวารสารให้แก่ห้องสมุด ครอบคลุมการสมัครเป็นสมาชิก การรับ-ส่งวารสาร การต่ออายุสมาชิก การทวง การแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของวารสาร เช่น การเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนกำหนดออก เปลี่ยนลักษณะรูปเล่ม เปลี่ยนราคา เป็นต้น การบอกรับผ่านตัวแทนนี้ ผู้ดำเนินงานจัดหาวารสารมีหน้าที่เพียงแต่รวบรวมรายชื่อวารสารทั้งหมดที่ห้องสมุดต้องการจะเป็นสมาชิก ส่งไปให้ตัวแทนบอกรับวารสาร ต่อจากนั้นตัวแทนก็จะดำเนินการติดต่อกับทางสำนักพิมพ์ให้ทั้งหมด <p>ข้อดีของการบอกรับวารสารผ่านตัวแทน <p>1. ประหยัดเวลาและแรงงานในการดำเนินงาน <p>2. ตัวแทนมีความเข้าใจและรู้รายละเอียดของสำนักพิมพ์ และมีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยเฉพาะ ทำให้สามารถบริหารจัดการกับการบอกรับวารสารที่หลากหลายชื่อ หลายสำนักพิมพ์ ได้ดี <p>3. ลดความยุ่งยากในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตัวแทนบางราย คิดราคาเป็นสกุลเงินไทย ซึ่งห้องสมุดต้องตรวจสอบราคาจริงจากสำนักพิมพ์ประกอบด้วย <p>ข้อเสียของการบอกรับวารสารผ่านตัวแทน คือ ห้องสมุดต้องเสียค่าบริการ (Service charge) ในการดำเนินการอำนวยความสะดวกให้กับห้องสมุดนั้น <p>หลักเกณฑ์ในการเลือกตัวแทนบอกรับวารสาร <p>1. คุณภาพการให้บริการ และ ความรวดเร็วในการให้บริการ <p>2. ความน่าเชื่อถือ พิจารณาจากผลการดำเนินงานธุรกิจของตัวแทนบอกรับวารสาร สภาพทางการเงินของตัวแทน <p>3. ลักษณะของตัวแทน พิจารณาที่ขนาดของบริษัทตัวแทนบอกรับวารสาร สามารถให้บริการในระดับนานาชาติได้ <p>การพิจารณาคัดเลือกตัวแทนบอกรับวารสาร ห้องสมุดสามารถใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากบริษัทตัวแทนโดยตรง หรือสอบถามไปยังผู้ดำเนินงานจัดหาวารสารของห้องสมุดอื่น ๆ เพื่อสอบถามข้อมูล ข้อดีและข้อเสีย ก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ <p>การบอกรับผ่านตัวแทน ในเรื่องต่าง ๆ ควรมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยัน หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในภายหลัง อย่างไรก็ตามการบอกรับทั้ง 2 วิธี ห้องสมุดควรตั้งงบประมาณเผื่อสำหรับการคำนวณกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วย ซึ่งมีอัตราขึ้นลงอยู่เสมอ อาจทำให้การจ่ายเงินในบางเวลามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตั้งงบประมาณไว้ และที่สำคัญหน่วยงานราชการ ตามระเบียบการจัดซื้อพัสดุ พ.ศ. 2535 ให้ต่ออายุได้ปีต่อปีเท่านั้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การทำบัตรรายการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
การทำรายการสิ่งพิมพ์รัฐบาล[บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
สิ่งพิมพ์ออก[คอมพิวเตอร์]
การจัดหาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[TU Subject Heading]
การทำรายการสิ่งพิมพ์รัฐบาล[TU Subject Heading]
การทำรายการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[TU Subject Heading]
สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย[TU Subject Heading]
สิ่งพิมพ์ระบบดิจิทัล[TU Subject Heading]
ห้องสมุดสิ่งพิมพ์รัฐบาล[TU Subject Heading]
สิ่งพิมพ์รัฐบาล[TU Subject Heading]
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง[TU Subject Heading]
คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[การทูต]
สิ่งพิมพ์รัฐบาล[การแพทย์]