น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
(สะหฺมุนไพฺร) น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กำมะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
น. บริเวณที่ปลูกพืชที่ใช้เป็นสมุนไพร.
น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax psittacorum (Willd.) Vahl ในวงศ์ Olacaceae ตามลำต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, นํ้าใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว.
(โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี.
(คุนนะปฺระโหฺยด, คุนปฺระโหฺยด) น. ลักษณะที่เป็นประโยชน์ เช่น สมุนไพรมีคุณประโยชน์ในการทำยารักษาโรคได้.
(คุนนะสมบัด, คุนสมบัด) น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจำตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, ลักษณะประจำของสิ่งนั้น ๆ เช่น สมุนไพรส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค.
ก. ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมแก้หวัด.
ก. เทนํ้าร้อนลงบนใบชาหรือสมุนไพรบางชนิดเป็นต้น เพื่อสกัดสาร กลิ่น หรือรสที่ต้องการ เช่น ชงชาจีน ชงชาดอกคำฝอย, ใช้น้ำร้อนทำให้ละลาย เช่น ชงนม, เทน้ำร้อนจากกาลงในภาชนะอื่น ในคำว่า ชงน้ำร้อน เช่น ชงน้ำร้อนใส่กระติก.
น. ตะบองอาญาสิทธิ์ สำหรับแพทย์หลวงถือไปเก็บสมุนไพรได้ในที่เรือกสวนส่วนบุคคล เพื่อทำยาของหลวง.
น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้งของไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ.
น. กระดาษที่ลงข่าวสารหรือข้อมูลโฆษณาขนาดสั้น เช่น แผ่นปลิวโฆษณาการเลือกตั้ง แผ่นปลิวขายยาสมุนไพร แผ่นปลิวโฆษณาอาหาร, แผ่นปลิว ก็เรียก.
น. กระดาษที่ลงข่าวสารหรือข้อมูลโฆษณาขนาดสั้น เช่น แผ่นปลิวโฆษณาการเลือกตั้ง แผ่นปลิวขายยาสมุนไพร แผ่นปลิวโฆษณาอาหาร, ใบปลิว ก็เรียก.
(พฺลี) ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่ยาสมุนไพร) เช่น ไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
(เพสัดชะเวด) น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น, วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร.
น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกายหรือแก้โรค.
น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมเด็กแก้หวัด.
น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยาอื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
(สะหฺลาย) ก. สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น หมอกก็สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลายพิษงู, ฉลาย ก็ว่า.
ก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมหัว ก็ว่า.
ก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมกระหม่อม ก็ว่า
ก. เอาสมุนไพรมีใบไม้สดเป็นต้น ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก.
ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพรบางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.