(สะหฺมาด) น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์.
(กะหฺนก) น. ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา (สมุทรโฆษ).
(กอน) น. ผู้ทำ, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร.
(กอน) น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร นิศากร.
(กฺริดะ-) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี.
(กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
(กันหะ-) ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส.
(กันละยานะ-) ว. งาม, ดี, ใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี.
ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้.
(กายยะ-) น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร.
น. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
คำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
(กาน, กาละ-, กานละ-) ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส.
(ขะยะ-) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย.
(-คด) ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต.
(คะหะ-) น. เรือน, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น คหกรรม.
(คันทะ-) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม.
ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร วนจร, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี เช่น จรลู่ จรลิ่ว.
(จะริยะ-) น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา.
(จะ-) น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น ธรรมจริยา.
น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี.
(จุนละ-) ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน.
น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร.
(ชะวะ-) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
(ไตฺร) ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคำสมาส เช่น รัตนตรัย.
(ไตฺร) ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาส เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร.
(ทะ-) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ.
(ทด, ทดสะ-) ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
ก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต.
(ทับพะ-) น. สมบัติ, เงิน, เครื่องใช้ต่าง ๆ, มักใช้ประกอบส่วนหน้าสมาส.
(เทด, เทดสะ-, เทสะ) น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
(ไทยะ-) ว. ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคำนำหน้าสมาส.
ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร.
(ทาน) น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร.
(นอระ-) น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์.
(นะวะ-) ว. ใหม่ (ใช้เป็นคำหน้าสมาส).
(นะวะ-) ว. เก้า, จำนวน ๙, (ใช้เป็นคำหน้าสมาส).
ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำใช้เป็นชื่อลัทธิ เช่น ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม.
ก. เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล.
น. พ่อ, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช.
(เบ็นจะ-) ว. ห้า, ลำดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
(ปะระ-, ปอระ-) ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก.
น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท.
(พะละวะ-) ว. มีกำลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกำลังกล้า.
(พาบ, พาบพะ-) น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย
น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท
น. ที่ปรึกษาราชการ, ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี, (โบ) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น มนตรีหก.
(มะนัด, มะนัดสะ-) น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน).
(มะหักคะ-) ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหรรฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก.
(มะหักคะ-) ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก.