96 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*ศักราช*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: ศักราช, -ศักราช-
Longdo Unapproved TH - EN**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
คริสต์ศักราช
(n)Christian Era
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)eraSyn.ศก, ปีExample:กฎหมายตรา 3 ดวง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166Thai Definition:อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆNotes:(บาลี)
(v)change calendarsThai Definition:เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน
(n)Thai minor eraSyn.จ.ศ.Example: วันสงกรานต์ถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่Thai Definition:เป็นศักราชที่เราใช้กันก่อนใช้ศักราชรัตนโกสินทร์ เริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี
(n)Buddhist eraSyn.พ.ศ., พุทธศกExample:พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1826Thai Definition:ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา
(n)anno dominiSee Also:AD
(n)Christian EraSee Also:A.D.Syn.ค.ศ.Example:นิยายเรื่องนี้เขียนในคริสต์ศักราชที่เท่าไรThai Definition:ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู
(v)change the Buddhist eraExample:ในคืนส่งท้ายปีเก่าของทุกปี ผู้คนแต่ละประเทศจะชุมนุมกันเพื่อนับถอยหลังรอเปลี่ยนศักราชThai Definition:ขึ้นปีใหม่
(n)Christian EraExample:พระราชสาส์นนี้ได้มอบให้ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในวันที่ 19 แห่งเดือนเสบเตมเบอร์ในปีคริสตศักราช 1856Unit:ปีThai Definition:จำนวนปีนับตั้งแต่พระเยซูเกิดมา
(n)before Christian eraSee Also:BC
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
(คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
น. ศักราชน้อย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๑๑๘๑ เท่ากับจุลศักราช).
(-สักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา.
น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
ก. เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน.
(สักกะหฺราด) น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี (อัญชนะศักราชลบด้วย ๑๔๗ เท่ากับพุทธศักราช).
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชแบบโบราณของไทย ตรงกับเลข ๗ และตรงกับเลข ๒ ของจุลศักราช.
(กะ-) น. เกณฑ์สำหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช และบวกจุลศักราชเป็นพุทธศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๖.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๐.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๑.
(-มัดชะพน) น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคำนวณมาจากจุลศักราช.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
(จุนละ-) ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน.
(ฉอสก) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชทางเหนือ ท้ายศกเป็นเลข ๒ ตามศักราชโบราณแต่ตรงกับสัปตศกตามจุลศักราช. (ดู กาบไจ้ ประกอบ).
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ ปี, คำกำกับชื่อวันแบบโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ วัน, เขียนเป็น เต้า ก็มี.
ก. ขึ้นจุลศักราชใหม่.
น. เรียกวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา ว่า วันเถลิงศก, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เช่น ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๓๔๒.
(นบพะ-) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เช่น ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๓๔๙.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เปก ก็มี.
น. แว่นแคว้น เช่น ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระยาผ่านในปกเมืองเนืองทั้งปกเขม ครั้นเต็มสมบูรณ์สามสิบแปดข้าว เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด กลายท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ (จารึกวัดบูรพาราม).
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี.
น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๔.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๓.
น. เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปีที่มิได้รับราชการทหารหรือได้รับการยกเว้นเป็นรายบุคคล เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๒).
(รัดตะนะโกสินสก) น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก).
น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น รวง ก็มี.
ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง
น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่.
น. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก
คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก
น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
น. ตำแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การปกครองของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคำแนะนำของสังฆสภาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๓๔๗.
(สำริดทิสก) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ เช่น ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๕๐, ปีสำเร็จ (ครบรอบ คือ ปีที่ ๑๐ ของรอบ ๑๐ ปีของจุลศักราช) ซึ่งตั้งต้นด้วยเอกศก โทศก เป็นลำดับไปจน นพศก แล้วสัมฤทธิศก เป็นครบรอบแล้วตั้งต้นใหม่.
(หอระคุน) น. จำนวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา
น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๘ เช่น ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๓๔๘.
(เอกกะ-) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๑ เช่น ปีมะแมเอกศก จุลศักราช ๑๓๔๑.
น. ชื่อศักราชในศาสนาอิสลาม นับตั้งแต่ปีที่ศาสดามุฮัมหมัดออกจากเมืองมักกะฮ์ (เมกกะ) ไปเมืองมะดีนะฮ์ (เมดินา) เริ่มแต่ พ.ศ. ๑๑๖๕ เป็นปีทางจันทรคติซึ่งมี ๓๕๔ หรือ ๓๕๕ วัน.
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ศักราช[TU Subject Heading]
พุทธศักราช[TU Subject Heading]
ศักราชจีน[TU Subject Heading]
ศักราชจูเลียน[TU Subject Heading]
ศักราชล่าหู่[TU Subject Heading]
ศักราชไทย[TU Subject Heading]
ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง[การทูต]
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[junlasakkarāt] (n) EN: Thai minor era
[Khritsakkarāt] (n, prop) EN: Christian Era ; anno domini ; A.D.  FR: ère chrétienne [ f ]
[Phutthasakkarāt] (n, prop) EN: Buddhist Era  FR: ère bouddhique [ f ]
[plīen sakkarāt] (v, exp) EN: change the Buddhist era
[plīen sakkarāt mai] (v, exp) EN: bring a new era
[sakkarāt] (n) EN: era  FR: ère [ f ]
[khø.sø. (Khritsakkarāt)] FR: ère chrétienne
[phø.sø. (Phutthasakkarāt)] FR: ère bouddhique
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
(abbr)ปีคริสต์ศักราช (คำย่อของ Anno Domini)See Also:ค.ศ.
(n)บันทึกทางศาสนาของยิวหรือคริสเตียน (ระหว่างช่วง 200 ปี ก่อนคริสตศักราชถึงปีคริสตศักราชที่ 300)
(abbr)ก่อนคริสต์ศักราช (คำย่อของ before Christ)
(abbr)ก่อนคริสต์ศักราช (before Christ)
(n)พุทธศตวรรษSee Also:พ.ศ., พุทธศักราช
(n)จักรพรรดิของอาณาจักรโรมันที่ปกครองในช่วง 100-44 ปีก่อนคริสตศักราชSyn.Caesar, Gaius Julius
(n)ฮิจเราะห์ศักราช
Hope Dictionary
abbr. ante ChristumSyn.before Christ, ก่อนคริสต์ศักราช abbr. befor meal
abbr. Anno Domini, ในปีคริสต์ศักราช
(แอน' โน ดอม' มะไน) คริสต์ศักราช, A.D., มีอายุ
(แอน' ทิคริสทัม) (adj., Latin) ก่อนคริสต์ศักราช, A.C. (before Christ)
(คันฟิว'เชิส) n. ขงจื้อ (5-6ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช) -Confucian n., adj.
(อี'พอค, เอพ'เพิค) n. ยุค, สมัย, ศักราช, เหตุการณ์, กรณีSyn.age
(เอพ'พัคเมคิง) adj. ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่, ซึ่งเป็นการแบ่งยุคแบ่งสมัย
(เอพ'พะเคิล) adj. เกี่ยวกับยุคใหม่, เกี่ยวกับศักราชใหม่, เปิดศักราชใหม่.
(เอีย'ระ) n. ยุค, สมัย, ศก, ศักราช, ช่วง, ตอน, ระยะSyn.epoch
(จูล'เยิน) adj. เกี่ยวกับหรือมีลักษณะของจูเลียส ซีซาร์ จูเลียน <คำอ่าน>เป็นวิธีคิดคำนวณวันที่อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง ระบบจูเลียนนี้กำหนดให้ทุก ๆ วันมีหมายเลขเฉพาะ เช่น วัน 1 แทนวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 4713 ปีก่อนคริสตศักราช วัน 2448299 ก็แทนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 เป็นต้น
Nontri Dictionary
(n)ศักราช, ศก, ยุค, สมัย, ช่วง, ระยะ, ตอน
Longdo Approved JP-TH
[ぶつれき, butsureki](n)พุทธศักราช
Longdo Unapproved JP-TH**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
西暦
[せいれき, seireki](n)คริตศักราชSee Also:A. 和暦
画期的
[かっきてき, kakkiteki](adj)ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่, ซึ่งเป็นการแบ่งยุคแบ่งสมัย
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ