ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส, Example:<p>เทคนิค PCR เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่ายในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในหลอดทดลอง โดยสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอให้เพียงพอต่อการนำไปศึกษาโดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ปัจจุบันเทคนิค PCR เริ่มจากเตรียมส่วนผสมในหลอดทดลองให้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักๆ คือ ดีเอ็นเอตั้งต้น (ดีเอ็นเอ 2 สายจับกัน) ไพรเมอร์ (primer) 2 สาย (ดีเอ็นเอสายเดี่ยวสายสั้นๆ 2 สาย สามารถไปจับปลายของดีเอ็นเอตั้งต้นแต่ละสาย) ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส (DNA polymerase เป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่สร้างดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจาก primer โดยการคัดลอกจากดีเอ็นเอตั้งต้น) dNTPs (deoxynucleotide triphosphates เป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอนำไปต่อโดย DNA polymerase เพื่อสร้างดีเอ็นเอสายใหม่) หลังจากนั้นนำส่วนผสมไปควบคุมอุณหภูมิและเวลาเป็นรอบๆ โดยใช้เครื่องควบคุมอัตโนมัติ โดยแต่ละรอบเริ่มจากควบคุมอุณหภูมิและเวลาให้ดีเอ็นเอ 2 สายที่จับกันแยกออกจากกันเป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยว 2 สาย แล้วควบคุมอุณหภูมิและเวลาให้ primer แต่ละสายจับกับดีเอ็นเอสายเดี่ยว แล้วควบคุมอุณหภูมิและเวลาอีกครั้งให้ DNA polymerase สร้างดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจาก primer ดังนั้นเมื่อผ่านรอบแรกดีเอ็นเอเพิ่มขึ้น 2 เท่า และเมื่อเข้ารอบสองดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบแรกจะกลายเป็นดีเอ็นเอตั้งต้นของรอบสอง ทำให้เมื่อควบคุมอุณหภูมิและเวลาหลายๆ รอบดีเอ็นเอจะเพิ่มขึ้น 2 ยกกำลัง n เท่า เมื่อ n คือ จำนวนรอบ เนื่องจากใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในแต่ละรอบ ทำให้เมื่อผ่านไปเป็นชั่วโมง ดีเอ็นเอจะเพิ่มขึ้นมากมายเพียงพอต่อการนำไปศึกษา <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> 1. สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. "เอนไซม์ที่ใช้ในการโคลนยีน" ในพันธุวิศวกรรมเบื้องต้น. หน้า 42-65. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. <br>2. Promega. PCR Amplification. Retrieved May 24, 2012. from http://www.promega.com/resources/product-guides-and-selectors/protocols-and-applications-guide/pcr-amplification/ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส, ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้เอง โดยนิวเคลียสจะดูดกลืนนิวตรอนแล้วเกิดการแบ่งแยกของนิวเคลียสขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอนใหม่เพิ่มขึ้นออกมา ซึ่งจะถูกนิวเคลียสอื่นๆ ดูดกลืนต่อไปอีก และทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (ดู nuclear fission ประกอบ)[นิวเคลียร์]
แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ[นิวเคลียร์]
มวลวิกฤต, มวลน้อยที่สุดของวัสดุที่เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสได้ ซึ่งเพียงพอต่อการเกิดและสืบเนื่องของปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู fissionable material ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ภาวะวิกฤต, ภาวะที่ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสสามารถสืบเนื่องอยู่ได้ โดยอัตราการเกิดนิวตรอนจากปฏิกิริยาเท่ากับอัตราการสูญเสียนิวตรอน[นิวเคลียร์]
ลูกโซ่การสลายกัมมันตรังสี , อนุกรมของนิวไคลด์ที่เริ่มต้นจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เรียกว่านิวไคลด์แม่ สลายตัวเป็นนิวไคลด์ลำดับต่อ ๆ กันไป ที่เรียกว่านิวไคลด์ลูก จนถึงผลผลิตสุดท้ายที่เป็นนิวไคลด์เสถียร[นิวเคลียร์]
มวลเหนือวิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ทำให้ตัวประกอบพหุคูณยังผลมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (ดู critical mass และ effective multiplication factor ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
มวลใต้วิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือการจัดเรียงอยู่ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมต่อการคงไว้ซึ่งปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู critical mass ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
ลูกโซ่กัมมันตรังสี, อนุกรมกัมมันตรังสีต่าง ๆ เช่น อนุกรมยูเรเนียม <br>(ดู radioactive series ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์]
สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง[นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อุปกรณ์สำหรับให้ปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมได้ ใช้สำหรับผลิตนิวตรอน หรือพลังงานความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แกนปฏิกรณ์ ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารหน่วงความเร็วนิวตรอน สารสะท้อนนิวตรอน สารหล่อเย็น วัสดุกำบังรังสี และระบบควบคุม <br>บางครั้งเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (atomic reactor)</br>[นิวเคลียร์]
ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส[นิวเคลียร์]
ร้านอาหารแบบลูกโซ่[TU Subject Heading]
ร้านค้าแบบลูกโซ่[TU Subject Heading]
ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส[TU Subject Heading]
แชร์ลูกโซ่[TU Subject Heading]
นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)[การทูต]
อัลดีไฮด์ที่เป็นลูกโซ่เปิด[การแพทย์]
ลูกโซ่กิ่ง, สาชาโซ่[การแพทย์]
สายโซ่, เรียงตัวกันเป็นลูกโซ่, ลูกโซ่, สาย[การแพทย์]
การเกิดขยายลูกโซ่[การแพทย์]
ปรากฏการณ์แบบลูกโซ่[การแพทย์]
ความสัมพันธ์แบบลูกโซ่[การแพทย์]
ลูกโซ่ของการขนส่งอีเล็คตรอน[การแพทย์]
ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน[การแพทย์]
ลูกโซ่อาหาร, ห่วงลูกโซ่อาหาร, ห่วงโซ่อาหาร[การแพทย์]
ไซโทโครม, กลุ่มของสารประกอบพวกโปรตีนหรือเอนไซม์ภายในเซลล์ จับตัวต่อกันเป็นลูกโซ่ มีหน้าที่สำคัญในการรับและส่งอิเล็กตรอนต่อเนื่องกันไป พบมากในไมโทคอนเดรีย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, ปฏิกรณ์ปรมาณู, เครื่องมือใช้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยาฟิชชันแบบลูกโซ่ เพื่อนำพลังงานไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า ผลิตสารกัมมันตรังสี เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมเรียกเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู หรือเตาปรมาณู เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของไทยตั้งอยู่ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปฏิกิริยาฟิชชัน, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม 235 พลูโตเนียม 239 เป็นต้น แล้วทำให้นิวเคลียสแตกตัวเป็นธาตุใหม่ที่เบากว่าเดิม และเกิดนิวตรอนใหม่ 2-3 ตัวพร้อมกับพลังงานจำนวนหนึ่งนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ลูกโซ่การหายใจในไมโตคอนเดรีย[การแพทย์]