60 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*ราชาศัพท์*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: ราชาศัพท์, -ราชาศัพท์-
Longdo Unapproved MS - TH**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
กู
[กู](n)เพคะ หรือ กระหม่อม เป็นคำราชาศัพท์มลายูถิ่น คำรับที่ผู้ชายและผู้หญิง(สามัญ)ใช้เมื้อเจ้านายมีรับสั่ง
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
(n)royal wordSee Also:royal language, terms of reverenceSyn.ราชาศัพท์Example:สตรีที่มีบรรดาศักดิ์เป็นท่านผู้หญิงมิได้มีระเบียบให้ใช้คำราชาศัพท์Unit:คำThai Definition:คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชนด้วย
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
น. คำที่ใช้กราบบังคมทูล.
น. น้องสาว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกนิษฐภคินี.
น. น้องชาย, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกนิษฐภาดา.
(กัน, กันนะ-) น. หู, ใบหู, กลอนใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์ (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ.
น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย
(กฺลด) น. เครื่องกั้นกันแดดหรือฝน ลักษณะคล้ายร่มขนาดใหญ่ ขอบมีระบาย คันยาว ใช้ถือกั้นเจ้านาย, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบ ว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด.
น. ชื่อเครื่องประดับลักษณะเป็นวง สำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือ ว่า ทองกร หรือ ทองข้อพระกร กำไลเท้าว่า ทองข้อพระบาท หรือ ทองพระบาท.
น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย สำหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว
น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท.
น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
(โกฺรด) ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ทรงพระโกรธ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล (อิเหนา).
(โกด) น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับประกอบนอกพระลองหรือลองที่ใส่พระบรมศพ พระศพ หรือศพ รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐาน และมีฝาครอบเป็นเครื่องยอด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามอิสริยยศ, ที่ใส่พระบรมอัฐิ พระอัฐิ หรืออัฐิ มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโกศ
น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
(ขะหฺนง) น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
(ขะหฺนอง) น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง.
น. อาวุธด้ามยาวมีง้าวอยู่ตรงปลาย ใต้คอของด้ามมีขอสำหรับสับบังคับช้างได้, ราชาศัพท์ว่า พระแสงของ้าว.
ก. ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก.
น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออกทางทวารหนัก, อุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า พระบังคนหนัก, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, ใช้ประกอบหน้าคำ หมายความว่า เป็นสิ่งที่สกปรก เช่น ขี้เลน ขี้ดิน ขี้ทราย, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย.
น. จุดดำเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามร่างกาย, ราชาศัพท์ว่า พระปิลกะ.
น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ปลัดขิก ทองระอา หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
(ขะเหฺนย) น. หมอนหนุน, ราชาศัพท์ว่า พระเขนย.
(เข-ละ) น. นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ.
น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สำหรับคู้ขาเข้าและเหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่พระบรรทม.
น. ฟันแหลมคมสำหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น–พายัพ) ฟัน.
น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้ง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
ก. ไหว้, ราชาศัพท์ว่า ทรงคม ในความหมายว่า ทรงไหว้.
(คับพะมน) น. รก. (ประกาศ ร. ๔), ราชาศัพท์ว่า พระครรภมล.
(คฺลอด) ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ เช่น ประสูติพระราชโอรส ประสูติพระราชธิดา
น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ
น. ส่วนหน้าสุดของขากรรไกร อยู่ใต้ปาก, ราชาศัพท์ว่า พระหนุ.
(เคฺรา) น. ขนที่ขึ้นตามแก้มหรือขากรรไกร, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐิกะ.
น. สิ่งของสำหรับใช้ในการประดิษฐ์ สร้าง หรือทำ, โดยปริยายหมายถึงคนหรือสิ่งที่ใช้ทำประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย.
น. สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่องพระสำอาง
(โคบผะกะ) น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ.
(ไคฺล) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท
(จะหฺมูก) น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก พระนาสา โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง.
น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
ราชาศัพท์เรียกสุราหรือเมรัย ว่า นํ้าจัณฑ์.
(จิดตะ-) น. เชิงตะกอน ราชาศัพท์ว่า พระจิตกาธาน.
น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี
น. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี
น. ไรจุก, ไรผม, ราชาศัพท์ว่า พระจุไร.
ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร
ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น, เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า ทรงพระประชวร หรือ ประชวร.
(ชงคะ-) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
(ชะ-) น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กปลายเป็นเงี่ยงข้างเดียว มีด้ามยาว มีเชือกพันด้ามไว้ใช้ชักกลับ ใช้แทงจระเข้เป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า พระแสงชนัก หรือ ชนักต้น
น. เครื่องใช้สำหรับตักของกิน มีด้ามจับ เรียกชื่อตามสิ่งที่ตัก เช่น ช้อนแกง ช้อนขนม ช้อนกาแฟ ช้อนซุป หรือเรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ทำช้อน เช่น ช้อนกระเบื้อง ช้อนสังกะสี ช้อนหอย ช้อนพลาสติก, ลักษณนามว่า คัน, ราชาศัพท์ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อน
(ดัดชะนี) น. นิ้วชี้, นิ้วที่อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง, ราชาศัพท์ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้.
(ดัดชะนี) น. นิ้วชี้, นิ้วที่อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้.
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
เป็นเมรุที่ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือสิ้นพระชนม์โดยที่ภายในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง[ศัพท์พระราชพิธี]
ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์)[ศัพท์พระราชพิธี]
(ราชาศัพท์) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย[ศัพท์พระราชพิธี]
น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง[ศัพท์พระราชพิธี]
[ กฺลด ] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).[ศัพท์พระราชพิธี]
คำราชาศัพท์ แปลว่า ม่าน หรือ มุ้ง[ศัพท์พระราชพิธี]
คำราชาศัพท์ แปลว่า เปิดม่านโดยวิธีไข ใช้มือเลิกม่าน ใช้คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน[ศัพท์พระราชพิธี]
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
[rāchāsap] (n) EN: royal terms of reverence ; royal language  FR: langage royal [ m ] ; expressions révérencieuses envers la famille royale
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ