ยูเรเนียม, Example:ธาตุเคมี92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป235U ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมณูและอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย เวลาครึ่งชีวิตของมันคือ 4.5 พันล้านปี (238U) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อนุกรมแอกทิเนียม, กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้[นิวเคลียร์]
อนุกรมแอกทิเนียม, กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้[นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เอจีอาร์, <em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em>ผลิตไฟฟ้าแบบหนึ่ง ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระบายความร้อน โดยพัฒนามาจากแบบที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ตัวอย่างของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้คือเครื่องปฏิกรณ์ Hinkley Point B อยู่ทางตะวันตกของประเทศอังกฤษ ใช้ยูเรเนียมไดออกไซด์ (มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 1.4 ถึง 2.6) เป็นเชื้อเพลิง และใช้แกรไฟต์เป็น<strong>สารลดความเร็วนิวตรอน</strong> เครื่องปฏิกรณ์นี้ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส และความดัน 16 เมกะพาสคัล ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน[นิวเคลียร์]
อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม[นิวเคลียร์]
ลูกระเบิดอะตอม, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดู Fission ประกอบ)[นิวเคลียร์]
แบล็งเคต, ชั้นวัสดุเฟอร์ไทล์ เช่น ยูเรเนียม-238 หรือทอเรียม-232 ที่อยู่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นวัสดุเกิดฟิชชันได้[นิวเคลียร์]
ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ, ยูเรเนียมที่มีองค์ประกอบของยูเรเนียม-235 น้อยกว่าร้อยละ 0.7 พบได้ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว หรือผลพลอยได้จากการผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ซึ่งมียูเรเนียม-235 อยู่ ร้อยละ 0.20-0.25 นอกนั้นเป็นยูเรเนียม-238 (ดู natural uranium และ spent fuel ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ธาตุ , สารที่ประกอบด้วยอะตอมที่มีเลขเชิงอะตอมเดียวกัน และไม่สามารถแบ่งแยกเป็นสารอื่นได้ด้วยวิธีทางเคมี เช่น ไฮโดรเจน ตะกั่ว ยูเรเนียม[นิวเคลียร์]
วัสดุเสริมสมรรถนะ, วัสดุที่มีสัดส่วนของไอโซโทปที่ต้องการ ถูกทำให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าสัดส่วนที่พบตามธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียมตามธรรมชาติจะประกอบด้วยยูเรเนียม-238 ประมาณร้อยละ 99.3 และยูเรเนียม-235 (ซึ่งเกิดฟิชชันได้) ประมาณร้อยละ 0.7 ส่วนยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ จะมีไอโซโทปยูเรเนียม-235 สูงกว่าร้อยละ 0.7 (ดู isotope separation ประกอบ)[นิวเคลียร์]
โรงงานเสริมสมรรถนะ(ยูเรเนียม), โรงงานผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ โดยการทำให้ยูเรเนียม-235 มีสัดส่วนสูงขึ้นกว่าที่พบตามธรรมชาติ เช่น โรงงานแบบหมุนเหวี่ยงแก๊ส โรงงานแบบแพร่แก๊ส[นิวเคลียร์]
เค้กเหลือง, สารผสมของยูเรเนียมออกไซด์หลายชนิด (โดยเทียบออกไซด์ทุกชนิดให้อยู่ในรูปของ U3O8) มีลักษณะเป็นผงละเอียด ได้จากกระบวนการสกัดสินแร่ยูเรเนียมจากเหมือง มีสีเหลือง ส้ม หรือเขียวคล้ำ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนชนิดของออกไซด์ และอุณหภูมิที่ใช้ขณะผลิต โดยอุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้มีสีเข้มขึ้น เค้กเหลืองใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์[นิวเคลียร์]
ยูเรเนียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะหนัก มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 92 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเฉลี่ยประมาณ 238 ไอโซโทปที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 และ ยูเรเนียม-234[นิวเคลียร์]
อนุกรมยูเรเนียม, อนุกรมกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ที่เริ่มต้นจากยูเรเนียม-238 และได้ผลผลิตสุดท้ายเป็น ตะกั่ว-206 นิวไคลด์ที่มนุษย์ผลิตได้หลายชนิดจะสลายตามแบบอนุกรมนี้เช่นกัน (ดู decay radioactive, radioactive series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม[นิวเคลียร์]
ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม[นิวเคลียร์]
ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ)[นิวเคลียร์]
รังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40)[นิวเคลียร์]
วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ, วัสดุฟิสไซล์ และยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (ดู enriched material ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523[นิวเคลียร์]
วัสดุต้นกำลัง, วัสดุใด ๆ ที่มียูเรเนียม ทอเรียม หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เป็นองค์ประกอบ ร้อยละ 0.05 ขึ้นไป ยกเว้นวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ, Example: [นิวเคลียร์]
ตัวสะท้อน(นิวตรอน), ชั้นวัสดุที่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่สะท้อนนิวตรอนกลับเข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสมากขึ้นและใช้นิวตรอนอย่างคุ้มค่า วัสดุที่ใช้เป็นตัวสะท้อนนิวตรอน เช่น แกรไฟต์ เบริลเลียม และยูเรเนียมธรรมชาติ, Example: [นิวเคลียร์]
เรดอน, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นแก๊สที่หนักที่สุดในธรรมชาติ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 86 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเท่ากับ 222 เป็นนิวไคลด์ลูกของเรเดียมในอนุกรมยูเรเนียม รังสีพื้นหลังในธรรมชาติเกิดจากการแผ่รังสีของเรดอนเป็นส่วนใหญ่[นิวเคลียร์]
เรเดียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 88 ไอโซโทปที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ คือ เรเดียม- 226 เกิดปนอยู่เล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียม เช่น แร่พิตช์เบลนด์ และคาร์โนไทต์ เรเดียม-226 เกิดจากการสลายของทอเรียม-230 ในอนุกรมยูเรเนียม (ดู decay, radioactive และ uranium series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
ลูกโซ่กัมมันตรังสี, อนุกรมกัมมันตรังสีต่าง ๆ เช่น อนุกรมยูเรเนียม <br>(ดู radioactive series ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก ประกอบด้วยนิวไคลด์ในอนุกรม ยูเรเนียม ทอเรียม และแอกทิเนียม รวมทั้งนิวไคลด์กัมมันตรังสีอื่นๆ ที่มีในธรรมชาติ เช่น โพแทสเซียม-40 (K-40) รูบิเดียม-87 (Rb-87) มนุษย์ได้รับรังสีจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีกลุ่มนี้ตลอดเวลา ทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย (ดู radioactive series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
การแปลงนิวเคลียส, การเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของธาตุด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุยูเรเนียม-238 เป็นพลูโทเนียม-239 โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอน <br>(ดู transmutation ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
วัสดุนิวเคลียร์, วัสดุเฟอร์ไทล์ พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม-238 น้อยกว่าร้อยละ 80 ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมที่มีส่วนผสมของไอโซโทปต่างไปจากที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่แร่หรือกากแร่ และวัสดุใดๆ ที่เป็นส่วนผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้น, Example: [นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์]
ยูเรเนียมธรรมชาติ, ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ประกอบด้วยยูเรเนียม-235 ร้อยละ 0.7200 ยูเรเนียม-238 ร้อยละ 99.2745 และยูเรเนียม-234 ปริมาณเล็กน้อย <br>(ดู uranium และ depleted uranium ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
กัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติ, กัมมันตภาพรังสีจากต้นกำเนิดรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แร่ยูเรเนียม โพแทสเซียม-40, Example: [นิวเคลียร์]
ม็อกซ์, เชื้อเพลิงออกไซด์ผสม, เชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีส่วนผสมของยูเรเนียมออกไซด์และ พลูโทเนียมออกไซด์ ซึ่งต่างจากเชื้อเพลิงทั่วไปที่ใช้ยูเรเนียมออกไซด์อย่างเดียว[นิวเคลียร์]
เชื้อเพลิงออกไซด์ผสม, ม็อกซ์, เชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีส่วนผสมของยูเรเนียมออกไซด์และพลูโทเนียมออกไซด์ ซึ่งต่างจากเชื้อเพลิงทั่วไปที่ใช้ยูเรเนียมออกไซด์อย่างเดียว[นิวเคลียร์]
เลขมวล, ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดกับน้ำหนักเชิงอะตอมของแต่ละไอโซโทป เช่น ยูเรเนียม-235 มีโปรตอน 92 อนุภาค และนิวตรอน 143 อนุภาค ดังนั้นเลขมวลคือ 235 <br>(ดู atomic mass และ atomic number ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ยูเรเนียมสมรรถนะต่ำ, แอลอียู, ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม-235 น้อยกว่าร้อยละ 20, Example: [นิวเคลียร์]
การเสริมสมรรถนะไอโซโทป, กระบวนการเพิ่มสัดส่วนของไอโซโทปหนึ่งให้สูงข้นกว่าเดิม เช่น การเพิ่มสัดส่วนของยูเรเนียม-235 ให้สูงขึ้นกว่าที่พบตามธรรมชาติ <br>(ดู isotope separation ประกอบ)</br>[นิวเคลียร์]
ยูเรเนียมสมรรถนะสูง, เอชอียู, ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะที่มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 20 ขึ้นไป[นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ[นิวเคลียร์]
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ, Example: [นิวเคลียร์]
วัสดุเฟอร์ไทล์, วัสดุซึ่งสามารถแปลงให้เป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วัสดุเฟอร์ไทล์ ได้แก่ ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ซึ่งเมื่อจับยึดนิวตรอนแล้วจะเปลี่ยนเป็นวัสดุฟิสไซล์ คือ พลูโทเนียม-239 และยูเรเนียม-233 ตามลำดับ[นิวเคลียร์]
วัสดุฟิสไซล์, วัสดุซึ่งประกอบด้วยธาตุที่นิวเคลียสแบ่งแยกได้โดยนิวตรอนทุกพลังงาน โดยเฉพาะกับ<font color="#8b0000"><em>เทอร์มัลนิวตรอน</em></font> วัสดุฟิสไซล์ที่สำคัญ เช่น พลูโทเนียม-239 ยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-233 วัสดุฟิสไซล์นี้บางครั้งเรียกว่า วัสดุเกิดฟิชชันได้[นิวเคลียร์]
วัสดุเกิดฟิชชันได้, วัสดุฟิสไซล์ และรวมถึงวัสดุที่นิวเคลียสแบ่งแยกได้ด้วยนิวตรอนเร็ว เช่น ยูเรเนียม-238 (ดู fertile material และ fissile material ประกอบ)[นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
โรงงานแบบหมุนเหวี่ยงแก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ด้วยการหมุนเหวี่ยงแก๊สที่ความเร็วสูงมากในเครื่องหมุนเหวี่ยงรูปทรงกระบอก ยูเรเนียม-238 ที่หนักกว่าจะเคลื่อนที่อยู่รอบนอกชิดกับผนัง[นิวเคลียร์]
โรงงานแบบแพร่แก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ภายในเครื่องแพร่แก๊สที่มีตัวกั้นเป็นรูพรุน ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่าจะแพร่ผ่านเข้าสู่เครื่องแพร่แก๊สถัดๆ ไปในอัตราที่เร็วกว่า จนกว่าจะได้ยูเรเนียม-235 ที่มีสมรรถนะตามต้องการ โรงงานชนิดนี้มีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามาก จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน[นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
ยูเรเนียม[TU Subject Heading]
อุตสาหกรรมยูเรเนียม[TU Subject Heading]
สินแร่ยูเรเนียม[TU Subject Heading]