น้ำยางธรรมชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลของยางเป็น ทรานส์-พอลิไอโซพรีน (trans-polyisoprene) ยางที่มีลักษณะโครงสร้างดังกล่าวสามารถใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสายพานและลูก กอล์ฟ[เทคโนโลยียาง]
ยางแท่งเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ได้ตรงตาม มาตรฐานที่กำหนด โดยในการผลิตจะนำยางมาทำให้เป็นก้อนเล็กๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการชำระล้างสิ่งสกปรกและง่ายต่อการทำให้แห้งด้วยการอบ และหลังจากอบยางให้แห้งด้วยอากาศร้อนแล้วก็จะนำยางแห้งที่เป็นก้อนเล็กๆ เหล่านี้ไปอัดให้เป็นแท่งมาตรฐาน 330x670x170 มิลลิเมตร มีน้ำหนักประมาณ 33.33 กิโลกรัม การจัดชั้นของยางแท่งจะพิจารณาจากปริมาณสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในยางเป็นสำคัญ นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปริมาณเถ้า ดัชนีความอ่อนตัว ฯลฯ ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานยางแท่ง เรียกว่า Standard Thai Rubber (STR)[เทคโนโลยียาง]
ยางบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากบิวทาไดอีนมอนอเมอร์ มีความยืดหยุ่นและสมบัติการกระเด้งกระดอนสูง มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการสึกกร่อนสูงมาก นอกจากนี้ยังมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดี ความร้อนสะสมขณะใช้งานต่ำจึงนิยมใช้ผสมกับยางธรรมชาติหรือยางเอสบีอาร์ในการ ผลิตดอกยางรถยนต์หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ต้องการความทนต่อการสึกกร่อนสูง เช่น ยางพื้นรองเท้า ยางกันกระแทก เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4 พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4 polyisoprene) โดยปกติใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทหมากฝรั่ง[เทคโนโลยียาง]
ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา[เทคโนโลยียาง]
ยางเครพเป็นยางที่ผลิตขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางซึ่งจับตัวเป็นก้อน เช่น ยางก้นถ้วย ยางติดเปลือกไม้ เป็นต้น นำไปรีดในเครื่องเครพ (creping machine) พร้อมทั้งใช้น้ำทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากยางระหว่างการรีด นำยางแผ่นที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง ยางเครพที่ผลิตจากน้ำยางเป็นยางเครพที่มีคุณภาพดี ได้แก่ ยางเครพขาว (white crepe) หรือยางเครพสีจาง (pale crepe) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางสี ได้แก่ ยางกระเป๋าน้ำร้อน ยางรัดของ เป็นต้น ส่วนยางเครพที่ผลิตจากก้อนยางจับตัว เป็นยางเครพที่มีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ยางเครพสีน้ำตาล (brown crepe) ยางเครฟแฟลตบาร์ก (flat bark crepe) และยางเครฟแบลงเค็ต (blanket crepe) เป็นต้น ซึ่งยางเครฟเหล่านี้มีสีค่อนข้างเข้มและมีความบริสุทธิ์แตกต่างกันมากขึ้น อยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เหมาะสำหรับทำผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่คำนึงถึงสี ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนักและราคาต้นทุนต่ำ ได้แก่ ยางปูพื้น ยางกันโคลน เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
การทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์ เช่น การเติมกำมะถันในยางธรรมชาติ (กระบวนการเรียกว่า vulcanization) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางโดยกำมะถัน ได้ยางที่มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยง (crosslink) หรือร่างแห (network) ทำให้ยางเปลี่ยนสมบัติจากอ่อนนิ่ม เป็นยางที่มีสมบัติแข็งและเหนียวขึ้น เหมาะแก่การใช้งาน[เทคโนโลยียาง]
ยางไซไคลส์เป็นยางธรรมชาติที่ปรับสภาพโครงสร้างโมเลกุลยางให้มีสัดส่วน ของพันธะที่ไม่อิ่มตัวในโมเลกุลยางลดลง โดยการทำให้โมเลกุลของยางธรรมชาติเกิดการเชื่อมโยงกันเอง เป็นแบบวงแหวน (cyclize) ทำให้สมบัติของยางเปลี่ยนไป มีความแข็งแรงมากกว่าปกติ สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติที่เตรียมโดยการกำจัดโปรตีนที่มีอยู่ในยางธรรมชาติออกไป สามารถทำได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง วิธีที่นิยมใช้ในการกำจัดโปรตีน คือ การย่อยสลายโปรตีนด้วยเอนไซม์ (proteolytic enzymes) เช่น เอนไซม์ปาเปอิน (papain) หรืออาจใช้ด่าง (alkaline hydrolysis) หรือใช้น้ำร้อนในการกำจัดโปรตีน[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม มีสภาพเป็นคอลลอยด์หรือสารแขวนลอย มีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 0.975-0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีค่า pH ประมาณ 6.5-7.0 ความหนืดของน้ำยางมีค่าประมาณ 12-15 เซนติพอยส์ โดยที่จะเติมหรือไม่เติมสารรักษาสภาพ (preservative) ก็ได้ ขึ้นกับระยะเก็บก่อนที่จะนำไปทำให้เข้มข้น หรือไปผ่านกระบวนการอื่นๆ ต่อไป[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติสายพันธ์หนึ่งที่ได้จากต้นวายูเล่ (Parthenium argentatum) ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองในแถบเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเทกซัส มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีเหมือนยางพาราเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene) แต่มีส่วนประกอบในน้ำยางต่างจากยางพารา เช่น มีส่วนของเนื้อยางแห้งน้อยกว่า (ประมาณ 10%) ปริมาณโปรตีน กรดอะมิโน และพอลิเพปไทด์น้อยกว่า สามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฯลฯ ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์ยางที่ได้จากยางพารา[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่ได้จากต้นยางกัตตา (Palaquium gutta) ซึ่งเป็นต้นไม้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมบัติความยืดหยุ่นไม่ดีเนื่องจากลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4-พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4-polyisoprene) แต่มีความเป็นฉนวนที่ดี นิยมใช้ในการทำส่วนประกอบของลูกกอล์ฟ ทำฟันปลอม ฉนวนหุ้มสายเคเบิลไฟทั้งใต้ดินและในทะเล[เทคโนโลยียาง]
ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางพอลิไอโซพรีนหรือยาง IR เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมาก และสามารถใช้แทนยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติแล้ว ยาง IR มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อแรงดึง และความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย เนื่องจากยาง IR มีสัดส่วนของโครงสร้างแบบ cis- ที่ต่ำกว่ายางธรรมชาติจึงมีแนวโน้มที่จะตกผลึกได้น้อยกว่า แต่มีข้อดีคือ ยางมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และมีสีขาวสวย[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติเหลวได้จากการนำยางธรรมชาติมาทำให้โมเลกุลของยางเกิดการ สลายตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือเป็นกระบวนการตัดสายโซ่โมเลกุลของพอลิไอโซพรี นที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงให้มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำลง จนกระทั่งยางมีความหนืดต่ำ สามารถไหลได้ที่อุณหภูมิห้องหรือที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของธาตุแมงกานีสในน้ำยางธรรมชาติ มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยาง เนื่องจากแมงกานีสเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเสื่อมสภาพได้[เทคโนโลยียาง]
ขั้นตอนการบดให้ยางนิ่ม มักใช้กับยางธรรมชาติเนื่องจากยางธรรมชาติมีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก (ความหนืดสูงมาก) การบดยางให้นิ่มเป็นการทำให้โมเลกุลฉีกขาด น้ำหนักโมเลกุลของยางลดลง (ใช้แรงเฉือน และออกซิเจนในอากาศ) สามารถทำได้โดยการบดยางล้วนๆ หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพในการบดยางได้โดยการเติมเพปไทเซอร์ลงไปเล็กน้อยและ การใช้อุณหภูมิสูง ผลที่ได้ทำให้ยางนิ่มลง เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะทำให้สารเคมีนั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับยางได้ง่าย ขึ้น ส่วนยางสังเคราะห์ที่มีการควบคุมน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ขั้นตอนการสังเคราะห์ ทำให้ความหนืดเริ่มต้นไม่สูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องนำมาบดให้นิ่มก่อน[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติมีโครงสร้างโมเลกุลเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene)ได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis เมื่อผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันแล้วให้สมบัติเชิงกลดีมาก แข็งแรง ทนต่อการขัดถูและการฉีกขาดดีเยี่ยม แต่ไม่ทนน้ำมันและการเกิดออกซิเดชัน[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางธรรมชาติได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นอนุภาคยาง 35% ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 5% เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ที่เหลือเป็นน้ำประมาณ 60% โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene) สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายยางยืด เป็นต้น หรือนำไปแปรรูปเป็นยางแห้งเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ยางผงเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตขึ้นให้อยู่ในรูปผง สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง[เทคโนโลยียาง]
ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ[เทคโนโลยียาง]
ปรากฎการณ์ที่มอดุลัสของยางมีค่าลดลงเมื่อยางเกิดสภาวะการคงรูปมากกว่า สภาวะที่เหมาะสม (เกิดโอเวอร์เคียว) เนื่องจากโมเลกุลหรือโครงร่างแหที่เชื่อมระหว่างโมเลกุลเกิดการสลายตัว มักเกิดในยางธรรมชาติ (NR)[เทคโนโลยียาง]
ปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น[เทคโนโลยียาง]
ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน[เทคโนโลยียาง]
ยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติ, ยางซึ่งได้จากต้นยางพารา ใช้เป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมยาง หรือผลิตภัณฑ์ยางหลาย ๆ ชนิด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ยางเทียม, ยางสังเคราะห์, ยางที่ผลิตขึ้นใช้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียมมีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สีพลาสติก, สีทาที่ใช้ยางธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์เป็นตัวกลาง ทำให้อนุภาคของตัวสีมีแรงยึดเหนี่ยวกันและทำให้ตัวสีติดบนพื้นผิวของวัตถุที่ทาได้ทนทาน มักใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]