ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม.
(กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม.
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก.
น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก.
น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgareL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์.
น. ชื่อแมลงในสกุล Simuliumวงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด S. nigrogilrum Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก.
น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอาชีพทางเลือกใหม่แก่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ซึ่งเดิมปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ให้หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ผล พืชผักเมืองหนาว และเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ทำให้ลดปัญหายาเสพติด ช่วยพิทักษ์รักษาป่าต้นน้ำ และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน.
น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก.
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดของไทยภาคเหนือ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงก้อง มีคันต่อจากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสายดีด ๒ คู่.
น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน.
น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร หน้ากว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ, ใช้ตีคู่กับ กลองแอว.
น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก.
น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก.
น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Neolissochilus dukai (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดสีดำที่โคนครีบหางเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Theraphosidae ลำตัวยาวมากกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป สีดำหรือน้ำตาลแก่ ไม่ชักใยดักสัตว์ มีขนดกหนาสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ตามพื้นดิน คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน ชนิดที่พบบ่อยและนิยมนำมารับประทาน เช่น ชนิด Haplopelma albostriatum (Simon) พบมากที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิด H. minax (Thorell) พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้, ก่ำบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก.
ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลำต้นกลม ดอกสีม่วง.
น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Lophura diardi (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
ก. รำของทางภาคเหนือและภาคอีสาน, กราย.
น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
(พาก, พากคะ-) น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค.
น. ชื่อต้นไม้ขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามเขาในภาคเหนือเขตร้อน ใบนำมาหมักใช้เคี้ยวหรืออม.
น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.
น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.